เว็บเบ็นทูแอท http://ben2at.siam2web.com/

หมวดงานวิจัยและพัฒนา

รายการวิจัยและพัฒนาที่น่าสนใจ  ลองคลิกดูนะครับ

 

 

โครงการป้องกันภัยพิบัติ

เนื่องจากในปัจจุบันโลกมีแหล่งหย่อมความกดอากาศต่ำที่เพิ่มมากขึ้นจากปริมาณไอความร้อนที่มาจากแหล่งอุตสาหกรรมทั้งภายในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านที่มีอัตราเพิ่มมากขึ้น

 ตลอดจนไอความร้อนจากครัวเรือนและชุมชนเมืองที่ปลอดปล่อยไอความร้อนจากการเผาไหม้ในกิจกรรมการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพ ที่ต้องพึ่งพาสารเคมีต่างๆ โดยเฉพาะสารเคมีจากพวกฟอสซิล

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการเลี้ยงปศุสัตว์ที่มากขึ้น ทำให้มีปริมาณก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในอากาศที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

ซึ่งกลายเป็นแหล่งหย่อมความกดอากาศต่ำด้วยเช่นกัน              แต่หย่อมความกดอากาศต่ำหรือเมฆฝนจากเคมีทางอุตสาหกรรมกลับกลายเป็นฝนกรดที่ทำให้ผู้คนดื่มกินใช้ประโยชน์ไม่ได้ ต่างจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่เกิดจากก๊าซของพืช สัตว์แมลงและมนุษย์ ที่สามารถใช้ประโยชน์ดื่มกิน สร้างประโยชน์สุขอย่างมากมาย

 นอกจากนี้เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกและน้ำแข็งบนยอดภูเขาได้มีอัตราการละลายเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะแหล่งธารน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็งต่างๆ

ซึ่งล้วนสร้างปริมาณน้ำในทะเล และมหาสมุทร ให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้มีปริมาณหย่อมความกดอากาศต่ำที่มากขึ้นอย่างมหาศาล  ส่งผลให้เกิดคลื่นยักษ์ เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง เกิดลมพายุที่รุนแรง โดยมีผลสร้างคลื่นน้ำทั้งบนผิวน้ำและใต้น้ำ

จนเกิดการเคลื่อนตัวของแพลงตอนฟอสซิลใต้ทะเล ที่เป็นแหล่งเชื้อเพลิงของภูเขาไฟ ซึ่งเมื่อฟอสซิลแพลงตอนเหล่านี้ได้ไหลลงสู่พื้นที่หดตัวใต้ทะเล และไปสร้างแมกม่าลาวา ทำให้เกิดแผ่นดินไหวเพราะปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยามากขึ้น ดังที่ปรากฏในข่าวทั่วโลก อันจะมีผลต่อการเกิดความเสียหายในพื้นที่สำรวจขุดเจาะปิโตเลียมและใช้น้ำบาดาลในกาลต่อไปในอนาคต รวมทั้งในพื้นที่ซึ่งมีแรงสั่นสะเทือนจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ด้วย

        ในขณะที่ปริมาณหย่อมความกดอากาศต่ำที่มีมากขึ้น ก็ได้สร้างลมพายุ และปริมาณฝนที่ร้ายแรงกว่าเดิม สืบเนื่องจากการขาดแหล่งป่าฝน ป่าไม้ยืนต้นที่คอยดูดซับคาร์บอนมาเก็บกักเอาไว้ภายในต้น แล้วสันดาปเปลี่ยนเป็นออกซิเจน รวมทั้งนำไปสร้างเนื้อไม้ ดอกใบ และกิ่งก้านต่างๆของต้นพืช

 โดยเฉพาะการผลัดใบ และผลิใบใหม่ของไม้ยืนต้นนั้น มีส่วนสำคัญมากในการนำน้ำและคาร์บอนมาใช้ประโยชน์ภายในต้นไม้

  เนื่องจากมีการทำไร่พืชเชิงเดี่ยว จึงมีการทำลายป่าไม้เนื้อแข็งเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการใช้พื้นที่บนภูเขา พื้นที่ชายฝั่งแหล่งน้ำต่างๆ และพื้นที่ในเขตป่าฝนของประเทศ เช่นแถบภาคตะวันออก ในจังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี

  ทำให้พื้นที่ป่าฝนดงพญาไฟ ดงพญาเย็นที่เป็นแหล่งซับคาร์บอนแหล่งใหญ่ของภาคตะวันออกได้ถูกทำลายลงไปเป็นอย่างมาก

 นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ป่าฝนและป่าเบญจพรรณอื่นๆอีกหลายแห่งในประเทศที่ถูกทำลายไปเพื่อการทำเกษตรเชิงเดี่ยว การทำหมู่บ้าน และโรงงานอุตสาหกรรม  

จึงเกิดเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ที่มีเป้าหมายในการจัดการกับมวลน้ำและกลุ่มเมฆเป็นหลัก  เพราะเป็นแหล่งกำเนิด น้ำและลม ทำให้เกิดฝน ลมพายุ เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ และหย่อมความกดอากาศสูงด้วยแนวทางทั้ง๒๓แนวทางดังนี้คือ

1.                        ทำระบบรูกักเก็บน้ำแบบรวงผึ้ง

2.                        ทำระบบกักเก็บแหล่งน้ำเอาไว้ภายในต้นไม้เนื้อแข็ง

3.                        เพิ่มความลึกให้แก่แหล่งน้ำต่างๆ

4.                        สร้างความหย่อมความกดอากาศสูงเพื่อสู้กับหย่อมความกดอากาศต่ำด้วยไนโตรเจนเหลว

5.               ทำท่อกรองน้ำ แบบสาม-ห้าชั้น เพื่อนำน้ำส่วนเกินลงสู่ชั้นบาดาล

6.               ปลูกต้นยูคาลิปตัส ตามริมฝั่งน้ำ  เพื่อให้ช่วยดูดซับน้ำเก็บเอาไว้ในลำต้น

7.               สร้างบอลลูนเปลี่ยนเมฆให้กลายเป็นน้ำและเปลี่ยนน้ำให้กลายเป็นไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ

8.                        ทำระบบสระน้ำบนภูเขา และตีนเขาให้มีความลึกมาก เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่เกิดขึ้นบนภูเขาไม่ให้ไหลลงสู่บ้านเมือง

9.ใช้เทคโนโลยี่เครื่องยนต์ของรถยนต์ใช้น้ำ นำมาประยุกต์ใช้เพื่อกำจัดปริมาณน้ำส่วนเกินในเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำต่างๆ นำมาผลิตเป็นไฟฟ้า เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติต่างๆอย่างยั่งยืน

10.         เอาน้ำทะเลส่วนเกินมาผลิตกลายเป็นน้ำจืด เพื่อการบริโภคและอุปโภค ด้วยระบบพลังงานความร้อน รวมทั้งใช้เยื่อกรองน้ำทะเลที่ก้าวหน้า

11.                ทำสแลนดักลมดักเมฆ ที่มีเยื่อกรองอากาศ ทำหน้าที่ควบแน่น เปลี่ยนลมและเมฆให้กลายเป็นน้ำ แล้วนำมาผลิตเป็นไฟฟ้า โดยติดตั้งอยู่ในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๒๐๐ เมตรขึ้นไป

12.                ทำแท๊งค์น้ำใต้ดิน ที่มีความลึกมาก ตามอาคารสถานที่ในชุมชนต่างๆ

13.                ทำเขื่อนใต้ดิน ในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน โดยเฉพาะทางภาคใต้ซึ่งเป็นแหล่งหย่อมความกดอากาศต่ำขนาดใหญ่ของประเทศ

14.                ทำอุโมงค์รับน้ำใต้ดิน ที่มีความลึกมากกว่า ๕เมตรและกว้างมากกว่า ๔เมตร

15.         สร้างถังน้ำขนาดใหญ่ แล้วใช้แสงอาทิตย์โฟกัสเผาน้ำให้กลายเป็นไอ เพื่อนำไปผลิตเป็นไฟฟ้า

16.         ใช้เตาปฏิกรณ์ขนาดใหญ่ที่ใช้ตัวทำปฏิกิริยาอื่นๆ ที่ไม่ใช่พลังงานนิวเคลียร์ ในการต้มน้ำให้กลายเป็นไอน้ำ

17.         ทำสวนเกษตรทฤษฎีใหม่ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มีแก้มลิงระดับจุลภาคเกิดขึ้นแบบเซลล์ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ไม่เกิดรวมศูนย์แบบในระบบเขื่อนน้ำบนบก

18.         ควบคุมปริมาณฟอสซิลแพลงตอนในก้นทะเลให้มีปริมาณที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดภูเขาไฟระเบิด ที่มีผลต่อการเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ และการเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยาที่ส่งผลต่อการเกิดแผ่นดินไหว ในแผ่นดินใหญ่

19.         ทำอุโมงค์ควบคุมหย่อมความกดอากาศสูง บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากกว่า ๓๐๐เมตร หรือทำในพื้นที่ต่ำแต่มีปล่องปล่อยมวลอากาศเย็นขึ้นบนที่สูงระดับ๕๐๐เมตรขึ้นไป

20.         ทำหลุมดักลม เพื่อลดปริมาณมวลอากาศร้อนที่ก่อเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ โดยใช้พัดลมสองระบบคือ พัดลมดูดอากาศเข้ามา

21.         ทำสแลนตาข่ายดักลมระบบตาข่ายวอลเล่ย์บอล เพื่อป้องกันแรงลม และมวลอากาศร้อนที่กลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำให้เปลี่ยนสถานะ

22.         สร้างปะการังเทียมด้วยโอ่ง ตุ่ม หม้อ และไหดินเผา รวมทั้งการใช้ดินเผาผสมกับผงเถ้ากระบก ไม้ชายเลนกับเปลือกหอยเพื่อผลิตคอนกรีตทนน้ำทะเล ใช้แทนคอนกรีตที่มาจากภูเขาบนบก เพื่อลดแรงกัดเซาะจากน้ำทะเล อันมีผลต่อการเกิดแผ่นดินไหว ตลอดจนเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ชายฝั่ง

23.         สร้างแนวต้านแรงคลื่นแผ่นดินไหวใต้โลกด้วยของเหลวและแท่งวัสดุทดแทนที่ทำจากกรดอะมิโนและคาร์บอน รวมทั้งรณรงค์ปลูกไม้ยืนต้นทนแล้งที่มีระบบรากลึกยาวช่วยยึดชั้นดินได้ดี

 

 

1.                       ทำระบบรูกักเก็บน้ำแบบรวงผึ้ง

คือการเจาะรูบนภูเขาต่างๆ ตามระดับความลาดชันของภูเขา ด้วยท่อเหล็กกลวง เพื่อลดปริมาณน้ำที่ไหลลงมาจากภูเขา ไม่ให้สร้างความเสียหายแก่ต้นพืชและชุมชนด้านล่างของภูเขา

โดยน้ำจะถูกกักเก็บเอาไว้ภายในรูที่ใช้ท่อเหล็กกลวงยาว ๑ถึง๓เมตร เจาะลงไปในดินของภูเขา หรือหินของภูเขา ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องเจาะแบบสว่านไฟฟ้า หรือปืนยิงลงไปในหิน เพื่อทำให้เป็นรูกลวง ทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอน เพื่อให้ดักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ได้มากที่สุด

 หรือโดยใช้แรงงานมนุษย์ นำท่อเหล็กกลวง ไปตอกลงดินบนภูเขาตั้งแต่ตีนเขาไปจนถึงยอดภูเขา ด้วยค้อน ซึ่งเป็นการเลียนแบบหรือดัดแปลงมาจากวิธีการระบบท้องร่องในเรือกสวนครั้งอดีตกาล                   ของบรรพชนไทย ที่ใช้กักเก็บน้ำเอาไว้เพื่อการเกษตร

 แต่ในอดีตกาลบรรพชนไทยใช้จอบเสียมเพื่อขุดทำท้องร่อง  เพื่อให้น้ำจากแม่น้ำลำคลองไหลผ่านเข้ามาสู่เรือกสวน อย่างเหมาะสมตามฤดูกาล  

แต่เนื่องจากเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ ข้าพระองค์จึงคิดดัดแปลงใช้วิธีการที่มีต้นทุนต่ำกว่าและสามารถทำได้ด้วยตัวเอง 

นั่นคือการใช้ท่อเหล็กกลวงขุดเจาะลงไปในดิน โดยใช้ค้อนตอกท่อกลวง แบบหลักการของเครื่องแทคไลน์ (ระบบขุดเจาะเสาเข็มอย่างหนึ่งที่ใช้ในการสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้างต่างๆ) และการขุดเจาะปิโตรเลียม แต่ทำให้เป็นลักษณะแบบรวงผึ้ง คือมีรูที่อยู่ห่างกันไม่มากนัก

  อันจะส่งผลให้มีน้ำกักเก็บอยู่ในรูแบบรวงผึ้ง เพื่อป้องกันน้ำท่วมและยังเป็นประโยชน์ต่อพืช สัตว์และแมลงที่อาศัยอยู่บนภูเขา ให้ได้มีน้ำใช้สอย และยังเป็นแนวป้องกันไฟป่าได้อย่างดี

 รวมทั้งยังช่วยสร้างแหล่งความชื้นกลายเป็นแหล่งมวลอากาศเย็น เพื่อสร้างหย่อมความกดอากาศสูง ให้ลดปริมาณหย่อมความกดอากาศต่ำที่ทำให้เกิดลมฝนได้อีกทางหนึ่ง

2.                       ทำระบบกักเก็บแหล่งน้ำเอาไว้ภายในต้นไม้เนื้อแข็ง

โดยการปลูกต้นไม้เนื้อแข็งตามภูเขา ตลอดจนริมแม่น้ำลำคลอง หนองบึงและชายทะเล ตามแนวพระราชดำรัสขององค์พ่อหลวงรัชกาลที่๙ ที่ได้ทรงโปรดให้ปลูกต้นไม้เนื้อแข็งเพื่อป้องกันน้ำท่วม

 

เนื่องจากไม้เนื้อแข็งจะมีการนำเอาน้ำไปสร้างเป็นกิ่งใบ ดอกผล เนื้อไม้ ลำต้นส่วนต่างๆของต้นไม้ เพราะแท้จริงแล้วในน้ำนอกจากจะมีอ๊อกซิเจนและไฮโดรเจนแล้ว ก็ยังมีคาร์บอนในแบบของเหลวผสมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อต้นไม้ในการนำคาร์บอนไปสร้างเป็นส่วนต่างๆของต้นพืช

 ดังที่เราทราบกันว่าต้นไม้สามารถช่วยซับคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ โดยสามารถดูดซับคาร์บอนได้ทั้งแบบของเหลวและก๊าซ

   เมื่อต้นไม้ผลัดใบและผลิใบใหม่ขึ้นมาทดแทนบนยอดต้นไม้ ก็จะช่วยดึงนำน้ำให้เดินทางขึ้นไปสู่บนยอดต้นไม้ ด้วยหลักการแบบเดียวกับระบบเครื่องปั๊มน้ำ 

ซึ่งหากต้นไม้ยิ่งมีการผลัดใบและผลิใบใหม่ จนมีลำต้นที่สูงมากเท่าไร ก็จะยิ่งต้องใช้น้ำไปสร้างเป็นใบ และส่วนต่างๆของต้นพืช มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นการดีต่อการช่วยลดปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ ไม่ให้มีมากจนเสียสมดุล แต่มีการสำรองกักเก็บเอาไว้ในต้นไม้นั่นเอง

 ดังนั้นหากเราพยายามปลูกต้นไม้ยืนต้นเนื้อแข็งที่มีขนาดความสูงให้มากเพียงใด ก็จะเป็นการดีต่อการกักเก็บน้ำเอาไว้ภายในต้นไม้ให้ได้มากที่สุด เช่น การปลูกต้นสัก ต้นสน ต้นไผ่ ต้นกระบก ต้นซีครัวญ่า ต้นเรดวู๊ด ต้นยางนา ต้นยางป่า ต้นมะเกลือ ต้นประดู่ ต้น มะค่า และต้นยูคาลิปตัส ต้นมะเดื่อ ต้นตะแบก ต้นตะเคียน ฯลฯ 

3.                       เพิ่มความลึกให้แก่แหล่งน้ำต่างๆ

โดยคิดจากระดับปริมาณน้ำฝน และปริมาณน้ำในทะเลที่มีมากขึ้น เพราะหย่อมความกดอากาศต่ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยปัจจัยจากมวลน้ำที่มาจากขั้วโลก

 เนื่องจากน้ำแข็งได้ละลายอย่างเร็วไว และมวลอากาศร้อนจากไอความร้อนของแหล่งชุมชน

 ตลอดจนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค ที่ปล่อยคาร์บอนและก๊าซมีเทนออกมา สร้างหย่อมความกดอากาศต่ำด้วยเช่นกัน

จึงทำให้มีปริมาณหย่อมความกดอากาศต่ำมากขึ้นกว่าเดิม ส่งผลต่อการเกิดลมพายุ และคลื่นน้ำที่รุนแรง ตลอดจนเกิดฝนตกที่ให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าเดิม 

อันมีผลต่อระดับความลึกของแหล่งน้ำต่างๆ โดยเฉพาะเขื่อนส่วนใหญ่ ที่ไม่ได้เกิดจากการขุดดินขึ้นมา แบบการสร้างอ่างเก็บน้ำ  รวมทั้ง คู คลอง หนองบึงและอ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่องค์พ่อหลวงได้ทรงให้ดำเนินการสร้างเอาไว้

เพื่อเป็นแก้มลิง รองรับน้ำ ป้องกันเหตุร้ายและนำมาใช้สอยให้เป็นประโยชน์ 

แต่หากไม่ได้มีการปรับปรุงระดับความลึกให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ก็จะทำให้เกิดผลเสีย เพราะรองรับน้ำได้น้อยลง

ซึ่งหากมีการต่อยอดจากสิ่งที่พระองค์ได้ทรงทำเอาไว้ดีแล้ว โดยการปรับแต่งเพิ่มความลึกของเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และหนอง บึง ให้เพิ่มขึ้นอย่างสอดคล้องกับปริมาณน้ำจริง ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยสอดรับกับแนวทางอื่นๆ

ซึ่งอาจจะมีการเพิ่มความลึก อย่างน้อย ๑๐เมตร ก็จะสามารถช่วยบรรเทา และต้านทานปริมาณน้ำส่วนเกินจากฝน รวมทั้งแหล่งน้ำต่างๆที่มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยในอดีตเมื่อช่วงปี๒๕๓๘ องค์พ่อหลวงได้ทรงเคยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯและจังหวัดสมุทรปราการด้วยการขุดลอกคลองบางปูอำเภอจังหวัดสมุทรปราการ ให้มีความลึกและกว้างมากขึ้นกว่าเดิม

 เพื่อให้สามารถรองรับน้ำ ระบายน้ำได้คล่องตัว และรวดเร็วยิ่งขึ้น ตลอดจนยังช่วยให้ทันต่อสถานการณ์ที่ต้องการระบายน้ำท่วมออกสู่อ่าวไทย จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ข้าใต้ฝ่าพระบาทได้จดจำและน้อมนำมาเป็นแนวทางในการนำเสนอโครงการในครั้งนี้

4.                       สร้างหย่อมความกดอากาศสูงเพื่อสู้กับหย่อมความกดอากาศต่ำด้วยไนโตรเจนเหลว

เนื่องจากไนโตรเจนเหลวนั้นเป็นสารเคมี ที่มีจุดเดือดคงที่ คือ – 192 องศาเซลเซียส  ซึ่งได้ถูกนำมาใช้อย่างหลากหลาย ในอุตสาหกรรมต่างๆโดยเฉพาะในด้านการเป็นตัวทำความเย็นให้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ 

นอกจากนี้ไนโตรเจนเหลวยังนำไปใช้ในทางการแพทย์อีกหลายอย่าง เช่นการเก็บรักษา สเต็มเซลล์ พลาสม่า เกร็ดโลหิต ฯลฯ  ใช้ขจัดผิวหนังที่ไม่ต้องการ กำจัดหูด เซลล์มะเร็ง

ในระยะเริ่มแรก รวมทั้งสามารถพัฒนาใช้ในสภาวะที่ต้องการความเย็นอย่างมาก เพราะในทางวิทยาศาสตร์พบว่า ไนโตรเจนเหลวสามารถทำให้วัตถุมีอุณหภูมิที่เย็นลงได้ในเวลาอันรวดเร็ว

ปัจจุบัน มีการนำไนโตรเจนเหลวมาใช้แช่แข็งอาหาร และเครื่องดื่มกันมากขึ้น โดยเฉพาะในร้านอาหารขนาดใหญ่ หรือภัตตาคารตามโรงแรม เพราะไนโตรเจนเหลวสามารถทำให้อาหารเกิดการแข็งตัว ได้ในเวลาอันรวดเร็วมาก อย่างทันทีทันใด

ไนโตรเจนเหลวมีอุณหภูมิที่เย็นจัดมาก และถ่ายทอดความเย็นบนสิ่งที่สัมผัสอย่างรวดเร็ว

               ไนโตรเจนเหลว สามารถขยายตัวออกมาในสัดส่วนที่มาก

               โดยไนโตรเจนเหลว 1 ลิตรนั้นสามารถทำให้กลายเป็นก๊าซไนโตรเจนที่เป็นแบบก๊าซ ได้มากถึง 700 ลิตร

             

คุณลักษณะเฉพาะ
1.
สูตร N2
2.
น้ำหนักโมเลกุล 28 กรัม/ โมล
3.
เป็นก๊าซเฉื่อย ไม่ไวต่อปฏิกิริยาทางเคมี เป็นก๊าซที่ติดไฟได้ง่าย ไม่มีสีและกลิ่น
4.
บรรจุในภาชนะ ทำให้มีความดันในภาชนะสูญญากาศ
5.
มีจุดเดือด (Boiling Point) อยู่ที่ -196 องศาเซลเซียส
6.
จุดเยือกแข็งอยู่ที่ -210 องศาเซลเซียส
7.
มีความถ่วงจำเพาะอยู่ที่  0.97
8.
ระดับความดันวิกฤต คือ 492.3 psia (33.5 atm)

ไนโตรเจนเหลว (liquid nitrogen) คือไนโตรเจนที่ได้จากกระบวนการผลิตโดยการทำให้อากาศกลั่นตัวกลายเป็นของเหลว และนำผ่านเข้าสู่กระบวนการทางหอกลั่น

ทำให้ได้ไนโตรเจนที่อยู่ในสภาวะของเหลวที่เย็นจัดมาก

 

ไนโตรเจนเหลว เป็นสารประเภทไครโอเจน (cryogen) ที่ระดับความดันบรรยากาศ (atmospheric pressure) โดยมีจุดเดือด (boiling point
อยู่ที่ -196 องศาเซลเซียส

ซึ่งในอุตสาหกรรมอาหารมักนิยมนำมาใช้ทำเป็นตัวกลางในการแช่เยือกแข็งอาหารแบบไครโอจินิค (cryogenic freezing) โดยนำไปจุ่ม หรือใช้ฉีดพ่น ให้สัมผัสกับผิวส่วนหน้าของอาหาร ก็จะทำให้อาหารเกิดการแข็งตัวขึ้นอย่างเร็วไวมาก

 ซึ่งหากนำมาฉีดพ่นไปที่ควัน ก็จะทำให้ไอน้ำหรือควันนั้นเกิดการแข็งตัว หรือสลายตัว เหมือนดั่งหย่อมความกดอากาศสูงที่ทำให้กลุ่มเมฆหย่อมความอากาศต่ำสลายตัวหายไป กลายเป็นเมฆปุยฝ้ายแทน

จึงต้องเก็บไนโตรเจนเหลว
เอาไว้ในถังที่ทนแรงดันสูง

 นอกจากนี้ยังมีการใช้ไนโตรเจนเหลว ในการเก็บรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น พลาสม่า เกร็ดโลหิต สเต็มเซลล์ รวมทั้งใช้ในกระบวนไครโยนิค ที่ช่วยรักษาสภาพศพให้คงสภาพเหมือนเดิม หรือแช่แข็งแบบในภาพยนตร์ฮอลลี่วู๊ด

 

ซึ่งหากเรานำเอาไนโตรเจนเหลวมาใส่ภาชนะที่มีขนาดพอเหมาะ และมีอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้ฉีดพ่นไนโตรเจนเหลวออกมาในปริมาณที่จำกัดแบบเบาบาง เพื่อทำให้เมฆหย่อมความกดอากาศต่ำกลายเป็นเมฆหย่อมความกดอากาศสูง แต่ไม่รุนแรงนัก

จนเปลี่ยนสถานะกลายเป็นน้ำแข็ง หิมะ ลูกเห็บและน้ำค้างแข็ง ก็จะสามารถนำมาใช้ปรับเปลี่ยนชนิดเมฆได้ตามที่ต้องการในเวลาอันรวดเร็ว

โดยชนิดเมฆที่ทำให้เกิดฝนและลมพายุได้นั้นมีอยู่สองชนิดหลักๆคือ เมฆนิมโบคิวมูลัส และเมฆสเตโตรคิวมูลัส

ซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างเมฆทั้งสองชนิดคือ  เมฆนิมโบคิวมูลัสจะทำให้เกิดฝนแต่ไม่มีลมพายุที่รุนแรง และไม่เกิดฟ้าผ่า ก็สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดปริมาณน้ำฝนจากเมฆได้ เพราะเมฆชนิดนี้ จะมีปริมาณน้ำฝนไม่มากพอ จนทำให้เกิดปะจุไฟฟ้าหรืออิออนที่ก่อให้เกิดสายฟ้าได้

 เสมือนกับปริมาณน้ำในเขื่อนที่มีไม่มากพอ จะทำให้เกิดแรงดันน้ำผลักหมุนกังหันปั่นไฟได้ฉันใด ก็แบบเดียวกันฉันนั้น

แต่เมฆสเตโตรคิวมูลัสนั้น มีความสามารถทำให้เกิดฟ้าผ่า ฟ้าร้องที่รุนแรงได้ โดยกระแสไฟฟ้าจากสายฟ้าแต่ละเส้นนั้น จะมีค่าพลังงานมากถึง๑ล้านโวลต์ หรือเทียบเท่ากับพลังงานนิวเคลียร์  “๑เส้นเท่ากับ๑ล้านโวลต์”

 ซึ่งหากสามารถนำมาคำนวณจำนวนเส้นของสายฟ้าแต่ละเส้น ที่เป็นสิ่งบ่งบอกปริมาณไฟฟ้าที่เกิดขึ้นได้ โดยการใช้ระบบกล้องและคอมพิวเตอร์อย่างพิเศษที่พัฒนาโปรแกรมในการจับภาพสายฟ้าและคำนวณค่าของพลังงานไฟฟ้าจากจำนวนเส้นของสายฟ้าที่เกิดขึ้น 

และหากสามารถตรวจวัดระดับความดังของเสียงฟ้าร้อง ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการพยากรณ์ปริมาณฝน ลมพายุและแนวโน้มของการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากสายฟ้าที่เกิดขึ้นจะมีผลต่อ สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แกนกลางใต้โลกและชั้นบรรยากาศไอโอโนสเพียร์ รวมทั้งชั้นแมกโนสโตเฟียร์   

ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดถึงปริมาณน้ำฝนที่จะเกิดขึ้นได้  เพราะมีความสัมพันธ์กับการสร้างปะจุไฟฟ้าจนเกิดฟ้าผ่าและลมพายุที่รุนแรงได้ เหมือนกับเขื่อนที่มีปริมาณน้ำมาก ย่อมสามารถผลักดันกังหัน ให้ปั่นไฟฟ้าได้มากเช่นกัน

 

แต่หากเราสามารถควบคุมไม่ให้เกิดเมฆทั้งสองชนิดนี้ ด้วยการใช้ไนโตรเจนเหลวอย่างอ่อน โดยนำขึ้นไปกับเครื่องบินทำฝนหลวง เพื่อฉีดพ่นทำให้เมฆเปลี่ยนสถานะ จนกลายเป็นเมฆหย่อมความกดอากาศสูง ที่ให้อากาศเย็นสบาย ก็จะทำให้ไม่เกิดลมพายุที่รุนแรง และไม่มีฝนตก รวมทั้งไม่เกิดปรากฎการณ์ฟ้าผ่า ฟ้าร้องแต่อย่างใด

โดยเมฆที่บ่งบอกถึงสภาวะอากาศเย็นสบายก็คือเมฆปุยฝ้าย และเมฆซีรัส มักพบในช่วงที่มีหย่อมความกดอากาศสูง หรือช่วงอากาศหนาวเย็นสบาย และพบว่าทำให้กำลังแรงของคลื่นทะเลลดน้อยลงไปด้วย

ซึ่งจะทำให้เราสามารถควบคุมสภาพภูมิอากาศได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งการทำให้เกิดฝนตก และการทำให้ไม่เกิดฝนตก ด้วยสารเคมีที่มนุษย์สามารถผลิตและควบคุมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อันจะทำให้ปัญหาน้ำท่วม  ลมพายุ แผ่นดินไหว น้ำกัดเซาะชายฝั่ง และแผ่นดินถล่ม สามารถหมดไป

 เนื่องจากเวลาเกิดฝนตกและมีลมพายุที่รุนแรงนั้น  จะก่อให้เกิดแรงคลื่นน้ำกระทบชายฝั่ง ซึ่งสามารถกัดเซาะชายฝั่งและยังแผ่พลังงานแรงสั่นสะเทือน แทรกซึมลงไปในชั้นใต้ดิน เข้าถึงอุโมงค์ต่างๆในใต้ดินที่มีอยู่ทั่วประเทศ  ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน  เกิดการสะสมพลังงาน จนเกิดการพังทลายได้ในเวลาต่อมา

ตลอดจนแรงฝนยังสามารถกัดเซาะหน้าดิน จนทำให้แผ่นดินถล่มลงได้เช่นกัน  ส่วนแรงน้ำก็สามารถกัดเซาะสิ่งปลูกสร้าง ถนนหนทาง ตลอดจนสะพานอาคารบ้านเรือน  และชั้นใต้ดินทำให้เกิดการพังทลายลงได้เช่นเดียวกัน

5.               ทำท่อกรองน้ำ แบบสาม-ห้าชั้น เพื่อนำน้ำส่วนเกินลงสู่ชั้นบาดาล

โดยต้องนำเอาน้ำส่วนเกินในแหล่งน้ำต่างๆ เช่น คลอง หนองบึง แม่น้ำ รวมทั้งในเขื่อนและ อ่างเก็บน้ำ ตลอดจนในพื้นที่ทางการเกษตรต่างๆ ที่มีปริมาณน้ำท่วมขัง หรือมีน้ำมากเกินมาตรวัดในระดับไม่อันตราย หรือหากมีปริมาณน้ำส่วนเกินมาตรวัดที่เป็นปกติ ก็ต้องรีบบริหารจัดการนำเอาน้ำส่วนเกินเหล่านี้ไปไว้ที่อื่น

 โดยนำลงไปในชั้นบาดาลผ่านทางท่อกรองน้ำที่มีชั้นกรองต่างๆแบบเครื่องกรองน้ำ เช่น ชั้นทราย ถ่าน เยื่อกรอง ใยบวบ แผ่นกรองแบบนาโน                                   

และต้องสามารถควบคุมกลไก ที่บังคับให้น้ำไหลลงสู่ชั้นบาดาลผ่านทางท่อกรอง ได้แบบสะดวกทั้งระบบมือหมุน ระบบไฮโดรลิค และระบบไฟฟ้า 

เพื่อทำให้น้ำที่ยังไม่สกปรก ตามแหล่งน้ำต่างๆ ได้ไหลลงไปสู่ชั้นบาดาล แบบเดียวกับระบบลูกรอก ระบบชักโครก ที่จะนำเอาน้ำส่วนเกินลงไปในชั้นบาดาลเวลาที่น้ำมีมาก

 ทำให้น้ำในชั้นบาดาลมีอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว หรือเกิดแรงสั่นสะเทือนในชั้นบาดาลได้เป็นอย่างดี

  เนื่องจากเพราะมีน้ำเต็มสมบูรณ์อยู่ในชั้นบาดาล จนส่งผลป้องกันแรงสั่นสะเทือนต่างๆที่จะทำให้อุโมงค์ใต้ดิน และอุโมงค์ชั้นบาดาลไม่ถล่มพังลงมาอย่างในต่างประเทศ

โดยเวลาที่แหล่งน้ำต่างๆมีปริมาณน้ำที่ผิวดินน้อยลง หรือมีน้ำพร่องลง ก็สามารถเปิดให้น้ำบาดาลในชั้นใต้ดิน ได้ไหลขึ้นมาเพื่อช่วยเติมเต็มให้แก่แหล่งน้ำต่างๆ จนมีปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นตามปกติ  เหมือนกับเป็นแก้มลิงหรือเขื่อนใต้ดิน ให้แก่แหล่งน้ำต่างๆ 

ซึ่งมีผลดีช่วยป้องกันปริมาณน้ำท่วม ที่จะไหลเข้ามาสู่แหล่งน้ำต่างๆ จนเกิดการเอ่อล้น ท่วมท้นสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน

  แต่หากมีระบบท่อกรองนำน้ำลงสู่ชั้นบาดาล อย่างเป็นระบบ ก็จะสามารถกำจัดปริมาณน้ำส่วนเกิน ในพื้นที่ทางการเกษตร และในเมือง ให้ไม่เกิดปัญหาต่อประชาชนทั้งหลาย

โดยใช้แหล่งน้ำสาธารณะของสวนสาธารณะต่างๆ และของภาคเอกชน ตลอดจนบ่อน้ำของวัด สถานศึกษา และโรงพยาบาล เพื่อติดตั้งระบบท่อกรองน้ำ ทำให้มีน้ำใช้และป้องกันน้ำท่วม ตลอดจนปัญหาจากแรงสั่นสะเทือนในชั้นใต้ดิน 

6.               ปลูกต้นยูคาลิปตัส ตามริมฝั่งน้ำ  เพื่อให้ช่วยดูดซับน้ำเก็บเอาไว้ในลำต้น

เนื่องจากต้นยูคาลิปตัสมีหลายสายพันธ์ โดยมีสายพันธ์ ที่สามารถดูดซับน้ำได้วันละ ๖๐แกลลอน        

 ซึ่งหากพัฒนาเพิ่มความสามารถของต้นพืชให้ดูดน้ำได้มากกว่า๖๐แกลลอนต่อวัน ก็จะเป็นการดี

เพราต้นไม้จะนำเอาน้ำไปสร้างเป็นกิ่งใบ ลำต้น และเนื้อไม้อย่างเร็วไว จนทำให้ต้นยูคาลิปตัสมีการเจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว                                    

นอกจากนี้ ต้นยูคาลิปตัสยังสามารถเจริญเติบโตสูงได้มากถึง  ๑๕๐เมตร หรือมากกว่านี้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการป้องกันแรงลมพายุ แรงน้ำกัดเซาะชายฝั่ง เพราะต้นยูคาลิปตัส สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ทั้งเขตร้อนชื้น จนถึงเขตอบอุ่น ทั้งพื้นที่แห้งแล้ง พื้นที่ทะเลทราย พื้นที่ใกล้ทะเล ใกล้น้ำกร่อย และใกล้แหล่งน้ำจืดต่างๆโดยเฉพาะในพื้นที่ใกล้น้ำจืด  เขตร้อนชื้นจะให้ผลดีมากกว่า

 อันจะมีผลต่อการช่วยดูดซับคาร์บอน ต้านลมพายุ และต้านแรงคลื่นน้ำจากทะเลและแม่น้ำลำคลองต่างๆ 

ต้นยูคาลิปตัสยังสามารถนำใบและเนื้อไม้มาใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมต่างๆ

 โดยผลิตเป็นพลังงานไบโอดีเซล พลังงานไฟฟ้าชีวมวล พลังงานเอทานอลจากเนื้อไม้  นำมาผลิตเป็นใยผ้า น้ำหอม สารป้องกันยุง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานก่อสร้าง  ฯลฯ

ซึ่งเราสามารถตัดกิ่งและลำต้นเพื่อเอามาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย เพราะต้นยูคาลิปตัสสามารถเจริญเติบโตได้อย่างเร็วไว  ตายยาก  และทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆอย่างดีเยี่ยม

               ต้นยูคาลิปตัสนั้นมีหลายสายพันธ์คือมีประมาณ ๗๐๐ถึง๘๐๐สายพันธ์พื้นเมือง

               ทำให้ไม่ต้องเป็นกังวล    หากเกรงปัญหาจากการดูดซับน้ำของต้นยูคาลิปตัส

              ที่จะไปแย่งน้ำในพื้นที่ทางการเกษตร เขื่อน อ่างเก็บน้ำ และหนองบึง 

              เพราะสามารถบริหารจัดการกิ่ง ใบและลำต้น ตัดนำมาใช้ได้ตามต้องการอย่างง่ายดาย

7.               สร้างบอลลูนเปลี่ยนเมฆให้กลายเป็นน้ำและเปลี่ยนน้ำให้กลายเป็นไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ 

นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียได้คิดสร้างระบบบอลลูนที่มีอุปกรณ์ ซึ่งสามารถเปลี่ยนให้เมฆกลายเป็นน้ำได้ และเปลี่ยนให้เป็นไฟฟ้าได้โดยตรง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย  โดยสามารถเลือกเมฆที่จะเปลี่ยนให้กลายเป็นน้ำและไฟฟ้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

นอกจากนี้ยังใช้งบประมาณในการผลิตระบบนี้เพียง๒๐ล้านบาท แต่ได้ประโยชน์มากกว่า หลายสิบเท่า เนื่องจากไม่จำเป็นต้องสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ และไม่ต้องสร้างระบบการผลิตไฟฟ้าด้วยวิธีการแบบอื่นๆให้สิ้นเปลืองงบประมาณ

  ซึ่งเมฆที่เป็นเป้าหมายหลักก็คือเมฆ คิวมูลัส นิมโบคิวมูลัส และสเตรโตคิวมูลัส โดยสามารถควบคุมได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แบบโดรน และแบบเครื่องบินบังคับวิทยุ ทำให้ช่วยป้องกันปัญหาจากลมพายุ พายุหิมะ และปัญหาน้ำท่วมที่จะเกิดจากฝนได้อย่างง่ายดาย จึงต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนต่อไป 

8.               ทำระบบสระน้ำบนภูเขา และตีนเขาให้มีความลึกมาก เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่เกิดขึ้นบนภูเขาไม่ให้ไหลลงสู่บ้านเมือง

โดยมีสระน้ำบนภูเขาที่มีความลึกอย่างน้อย ๓๐เมตร คอยทำหน้าที่เป็นแท๊งค์น้ำบนภูเขา โดยใช้ระดับความสูงของภูเขาเป็นระดับความจุ เพื่อให้รองรับน้ำได้มากพอ

 นอกจากนี้ยังมีระบบสระน้ำที่ลึกมากกว่าสระน้ำบนภูเขา คืออย่างน้อย๕๐เมตร เพื่อลดปริมาณน้ำป่าจากบนภูเขาไม่ให้ไปสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและสัตว์ต่างๆ ทำให้มีน้ำใช้สำหรับสัตว์และพืชรวมทั้งมวลมนุษย์ทั้งหลาย

 โดยใช้หลักการพลังงานศักย์ พลังงานจล เนื่องจากน้ำที่ท่วมจนเอ่อล้นในสระน้ำบนภูเขา หากไหลลงมาลงยังสระน้ำที่ตีนเขา                          ซึ่งมีความลึกมากกว่า  ก็จะทำให้ได้ปริมาณน้ำที่มากกว่าและเกิดแรงดันน้ำที่มากด้วยเช่นกัน      จนสามารถนำเอาแรงดันของน้ำบนภูเขา ที่ไหลเอ่อล้นออกมาจากสระน้ำบนภูเขา นำมาปรับแต่งให้กลายเป็นไฟฟ้าด้วยระบบกังหัน ที่ติดตั้งอยู่ในสระน้ำบริเวณตีนเขา

 เพื่อทำให้ได้ทั้งไฟฟ้าและปริมาณน้ำใช้อย่างอุดมสมบูรณ์

 เปรียบดังโครงการพระราชดำริอ่างเก็บน้ำห้วยสะโมงขององค์พ่อหลวงที่จังหวัดปราจีนบุรี ที่สร้างอ่างเก็บน้ำใกล้เทือกเขาของอุทยานธรรมชาติเขาใหญ่ ทำให้ไม่เกิดปัญหาน้ำท่วม น้ำทะเลหนุน ไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดบริโภค ที่ในอดีตมักเกิดขึ้นในเขตอำเภอกบินทร์บุรี

แต่หลังจากมีโครงการดังกล่าวนี้ ปัญหาเหล่านั้นก็ได้หายหมดไป และยังทำให้สัตว์ป่า ตลอดจนพืชพันธ์ทั้งหลายไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องการหาแหล่งน้ำ จนรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของประชาชน อย่างเช่นในปัจจุบัน

ซึ่งหากมีการทำระบบสระน้ำดังกล่าวในภูเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ ๗๐เมตรขึ้นไปก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก

9.               ใช้เทคโนโลยี่เครื่องยนต์ของรถยนต์ใช้น้ำ นำมาประยุกต์ใช้เพื่อกำจัดปริมาณน้ำส่วนเกินในเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำต่างๆ นำมาผลิตเป็นไฟฟ้า เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติต่างๆอย่างยั่งยืน

เนื่องจากเทคโนโลยี่เครื่องยนต์ของรถยนต์ใช้น้ำนั้นมีหลายแบบ ซึ่งสามารถเปลี่ยนน้ำให้กลายเป็นไฟฟ้า ไม่ก่อเกิดมลพิษต่างๆ และไม่ต้องใช้แหล่งพลังงานฟอสซิลจากใต้โลก มาผลิตเป็นไฟฟ้าแต่อย่างใด

 โดยหากพัฒนาปรับแต่งให้มีขนาด และรูปแบบที่เหมาะสมกับแหล่งน้ำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ชายทะเล และประตูระบายน้ำต่างๆ  เพื่อนำเอาน้ำในแหล่งน้ำดังกล่าวนั้น  ที่มีปริมาณมากเกินกว่าระดับมาตรวัดปกติ

นำมาเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าโดยตรง ทั้งวิธีการผลิตไฟฟ้าจากน้ำแบบไฮโดรเจนในรถยนต์รีแอคเตอร์วัน ของคนไทย  

 หรือการผลิตไฟฟ้าในเครื่องยนต์ด้วยระบบแคลเซี่ยมคาร์บอน ที่ทำให้เกิดก๊าซอะเซทีลิน ของชาวอินเดีย

 และแบบระบบไฮโดรเจนเหลว ของรถยนต์โตโยต้า ชื่อมิราอิ   ที่สามารถเปลี่ยนควันให้ออกมาเป็นน้ำบริสุทธิ์ได้อย่างเหลือเชื่อ

 จึงไม่มีควันพิษออกสู่ชั้นบรรยากาศแต่อย่างใด

  โดยหากทำการปรับปรุงและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากน้ำ ด้วยเทคโนโลยี่ของรถยนต์ใช้น้ำเหล่านี้ในพื้นที่ของอ่างเก็บน้ำ เขื่อน และประตูระบายน้ำต่างๆ ก็จะทำให้หมดปัญหาเรื่องน้ำท่วม ลมพายุรุนแรง คลื่นน้ำกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งการเกิดแผ่นดินไหว

เพราะสามารถบริหารจัดการปริมาณน้ำส่วนเกินในเขื่อน อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ หนองบึงและทะเล ไม่ให้มีมากเกินไปจนสร้างปัญหาทำลายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ดังที่ปรากฏในข่าว

 ซึ่งปัญหาน้ำท่วมที่ท่วมล้นเข้าสู่เมือง ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณน้ำฝนทีมีมากเกินกว่าปกติ และอีกส่วนที่สำคัญเป็นอย่างมากนั่นก็คือ ปริมาณน้ำที่ระบายออกมาจากเขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่มีมากเกินไป จนอาจสร้างความเสียหายให้แก่เขื่อนและอ่างเก็บน้ำได้  จึงต้องมีการระบายน้ำออกมาจนเกิดความเสียหายให้แก่ประชาชนและเหล่าสรรพสัตว์ต่างๆ

แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อมีการเปลี่ยนน้ำเหล่านั้น ให้กลายเป็นไฟฟ้า เพื่อไม่ให้มีปริมาณน้ำมากจนส่งผลทำให้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำที่มีกำลังสูง อันเกิดจากปริมาณน้ำจืด ที่ละลายไหลมาจากภูเขาน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก  และไหลเข้าสู่ทะเล สร้างหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้เกิดปัญหาจากคลื่นทะเล ลมพายุ และน้ำท่วม

 นอกจากนี้แรงคลื่นทะเลที่กระทบชายฝั่งยังทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนสะสม ที่ได้แผ่เข้าไปสู่แผ่นดินใหญ่ เมื่อเวลาที่คลื่นกระทบฝั่ง จนเกิดแรงสั่นสะเทือน ในอุโมงค์ใต้ดินต่างๆทั่วประเทศ 

ซึ่งมีผลต่อชั้นของเหลวใต้โลก ที่เกิดการเคลื่อนตัว จนเกิดแผ่นดินไหว และยังขับเคลื่อนเหล่าฟอสซิลแพลงตอนที่ก้นทะเล ให้เคลื่อนตัวไปสู่พื้นที่หดตัวหรือพื้นที่อ่อนไหวทางธรณีวิทยา

จนกลายเป็นแหล่งพลังงานให้แก่ภูเขาไฟ ทำให้เกิดภูเขาไฟระเบิด หรือเกิดการเคลื่อนตัวของเทือกเขาและยอดเขาใต้โลก ทำให้เทือกเขาใต้น้ำต่างๆ และรอยเลื่อนต่างๆเกิดการเคลื่อนตัวไปด้วย จนเกิดแผ่นดินไหวในที่สุด 

โดยควันจากภูเขาไฟที่ระเบิดขึ้นนั้น จะสร้างทั้งหย่อมความกดอากาศต่ำและหย่อมความกดอากาศสูง แบบผิดปกติ เหมือนอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐ ที่เกิดอากาศหนาวเย็นอย่างมากในรอบ๕๐ปีของประเทศไทย และเกิดพายุฝนถล่มในภาคใต้อย่างรุนแรง

ดังนั้นหากมีการใช้เทคโนโลยี่เครื่องยนต์ของรถยนต์ใช้น้ำ มาแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการเปลี่ยนน้ำส่วนเกินเหล่านี้ให้กลายเป็นไฟฟ้าโดยตรง ก็จะช่วยลดค่าครองชีพทางด้านพลังงาน และยุติปัญหาเรื่องการซ่อมแซม ตลอดจนการเยียวยาให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติ  เนื่องจากการที่มีระบบป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงไม่เกิดปัญหาภัยพิบัติอย่างที่ผ่านมา

โดยเทคโนโลยี่เครื่องยนต์ของรถยนต์ใช้น้ำนั้นมีหลายแบบเช่น ระบบรีแอคเตอร์วันของคนไทยที่ชื่อ

คุณสุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ที่ถูกขนานนามว่า เป็นพ่อมดแห่งนาซา ผู้ก้าวพ้นความฝันเฟื่องมาสู่นวัตกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของชีวิต ด้วยสิ่งประดิษฐ์ยานยนต์พลังงานไฮโดรเจน ที่ช่วยประหยัดพลังงาน ได้มากถึง๕๖ กิโลเมตรต่อลิตร

คุณสุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้พัฒนาอุปกรณ์แยกไฮโดรเจนจากน้ำ ที่สามารถนำไปติดตั้งเอาไว้ในรถยนต์ได้สำเร็จ ทำให้รถยนต์ปกติทั่วไปนั้น ที่ยังใช้น้ำมันเบนซิน หรือดีเซลอยู่ สามารถใช้พลังงานน้ำแทนน้ำมันเบนซินและดีเซลได้อย่างสะดวกในทันที

คุณสุมิตรได้ทำการพัฒนาอุปกรณ์แยกไฮโดรเจนจากน้ำ ที่มีชื่อว่า “รีแอคเตอร์” โดยมีเพื่อนร่วมการพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวคือ นายสมชาย ไตรสุริยะธรรมา

รีแอคเตอร์วัน เป็นกล่องโลหะสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง ๑๒ นิ้ว สูงประมาณ๑๐นิ้ว โดยติดตั้งอยู่ด้านท้ายของรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค ขนาด ๑,๘๐๐ ซีซี

ซึ่งจากการทดลองขับโดยผู้ทดลองขับรายอื่นๆ ต่างบอกว่าไม่มีความแตกต่างจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแต่อย่างใด ทั้งอัตราการเร่งและความเร็ว โดยคุณสุมิตรได้กล่าวว่า ในอดีตนั้นได้มีการนำเอาพลังงานจากน้ำมาแปรรูปเพื่อประโยชน์ เช่น การพัฒนาเรือเหาะ เอดินเบิร์ก

เทคโนโลยีพลังงานไฮโดรเจนจากน้ำ มีหลักการคือการแยกน้ำด้วยไฟฟ้าทำให้ได้ก๊าซไฮโดรเจน ๒อะตอม และออกซิเจน ๑อะตอม โดยใช้อุปกรณ์ รีแอคเตอร์ เป็นตัวแยก เมื่อนำไปติดตั้งกับรถยนต์จะใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรี่รถยนต์ ๑๒ โวลต์ เข้ามาทำการแยกโดยขั้วบวกจะมีปฏิกิริยาของออกซิเจน ขั้วลบจะมีปฏิกิริยาของไฮโดรเจนในการแยกโมเลกุลน้ำ แล้วไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิง จากนั้นจึงส่งไปสันดาปในเครื่องยนต์

 จุดเด่นของอุปกรณ์ “รีแอคเตอร์” คือ ทำให้ปฏิกิริยาจากการแยกน้ำ เกิดขึ้นทีละน้อย ตามความต้องการของเครื่องยนต์ในขณะนั้น โดยไม่ต้องนำไฮโดรเจนที่ได้ไปเก็บเอาไว้ในถังเก็บ แต่เมื่อผลิตไฮโดรเจนออกมาได้แล้ว ก็สามารถส่งออกไปยังเครื่องยนต์ได้เลย ทำให้เกิดการจุดระเบิดขึ้น

เพราะคุณสมบัติที่ดีของไฮโดรเจน ก็คือ การเผาไหม้ที่ทำได้สูงและมีจุดระเบิดต่ำมาก  เหมือนเครื่องยนต์ที่ใช้กันในปัจจุบัน ซึ่งเทคโนโลยีทุกวันนี้ในการผลิตไฮโดรเจน จะใช้วิธีการที่คล้ายๆกัน แต่เรียกว่า “อิเล็กโทรไรท์เตอร์”

แต่ปฏิกิริยาจากการแยกน้ำ จะทำให้เกิดค่าความร้อนสูง ยากแก่การควบคุม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อเกิดอันตรายได้   แต่อุปกรณ์รีแอคเตอร์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่นั้น สามารถควบคุมความร้อนให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย

ที่สำคัญคือ ใช้น้ำเป็นวัตถุดิบในการให้กำเนิดของเชื้อเพลิง  ซึ่งหาได้ง่าย ราคาถูก และประการสุดท้าย คือ ไอเสียที่เกิดจากการสันดาปของเครื่องยนต์นั้น จะปนออกมารวมตัวกับอ๊อกซิเจน จนกลายเป็นน้ำอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งทำให้ได้ไอน้ำที่บริสุทธิ์ และสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่  โดยไม่ก่อเกิดมลพิษให้แก่โลกแต่อย่างใด

โดยนายสุมิตรยังกล่าวว่ากำลังพัฒนาวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นตัวทำหน้าที่ตรวจสอบความผิดปกติของการทำงานในระบบทั้งหมด โดยทำงานร่วมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่เป็นตัวควบคุมการทำงานของรีแอคเตอร์กับเครื่องยนต์ เพื่อให้ใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี่น้อยลง และได้ผลผลิตคือ ไฮโดรเจนในปริมาณที่เป็นสัดส่วนกับความต้องการของเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยอย่างสูงสุด

ซึ่งก่อนหน้านี้ คุณสุมิตรได้กล่าวว่า รถยนต์ขับเครื่องด้วยพลังงานน้ำนั้น ใช้พลังงานผสมผสานกันแบบประหยัดสุดๆ ด้วยระยะทาง ๕๖๐กิโลเมตร วิ่งจากกรุงเทพฯไปถึงอุดรธานี ใช้น้ำมันเบ็นซินเสริมเพียง ๑๐ลิตร เท่ากับว่ารถยนต์คันนี้มีอัตราการประหยัดพลังงานอยู่ที่ ๕๖ กิโลเมตรต่อลิตนั่นเอง

โดยในการสาธิตทดลองให้ผู้สื่อข่าวชม ได้ใช้เพียงพลังงานน้ำจากน้ำดื่มที่เราสามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป

 

        นอกจากนี้ยังมีวิธีการปรับแต่งเครื่องยนต์เบ็นซินเพื่อนำน้ำมาเป็น

        พลังงานสะอาดได้ ในราคาไม่แพงมากนัก คือไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาทกรณีที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล หรือเบนซินที่ยังใช้คาร์บูเรเตอร์ หรือไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มปริมาณ HHO ด้วยการเพิ่มอุปกรณ์ Pulse generator

 

  หากเป็นเครื่องยนต์ที่มี Oxygen sensor ก็ต้องเพิ่มอุปกรณ์ปรับลดการจ่ายน้ำมัน รวมทั้งหมดไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท   

ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับการคิดค้นและทำรถยนต์ที่ใช้น้ำได้ ๑๐๐ % เป็นเชื้อเพลิงของ Mr.Stan   Meyer ที่สร้างความฮือฮามากในอดีต เพราะทำให้บริษัทผลิตน้ำมันของประเทศตะวันตกกลายเป็นจำเลยของสังคม

 

เนื่องจากเป็นผู้เสียหายมากที่สุด หากรถยนต์ใช้น้ำ๑๐๐% ได้ถูกผลิตออกมาใช้งานได้จริงๆ ก็จะก่อเกิดความเสียหายให้แก่บริษัทผู้ผลิตน้ำมัน และบริษัทผู้ผลิตยานยนต์

 

ตลอดจนเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นอย่างมาก เพราะจะต้องปิดกิจการเนื่องจากมนุษย์มีทางเลือกพลังงานตัวใหม่ที่ไม่ก่อเกิดมลพิษ และภัยธรรมชาติแต่อย่างใด นั่นคือ พลังงานจากน้ำที่สะอาด

 

นอกจากนี้ยังมีรถยนต์ใช้น้ำที่ใช้งานได้จริง ของMr.Deniel Dingel ชาวฟิลิปินส์ ซึ่งได้ทำการติดตั้ง OXY-HYDROGEN [ HHO] GENERATOR เข้าไปในรถยนต์ โตโยต้า โคโรนา รุ่นโดเรม่อน ที่ไม่มีหัวฉีด วิ่งไปในท้องถนน โดยมีน้ำไหลออกมาจากท่อไอเสีย ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนต่อวงการน้ำมันของฟิลิปินส์และทั่วโลกเป็นอย่างมาก 

 

    นอกจากนี้เรายังพบอีกวิธีในการนำน้ำประปามาใช้เป็นพลังงานในรถยนต์เพื่อผลิตเป็นไฟฟ้าในรถยนต์ได้อย่างสะดวกสบาย โดยต้องแก้ปัญหาจากสารแขวนลอยที่มีมากในน้ำประปา จึงต้องใช้ Electrolyze แทนซึ่งจะช่วยสร้าง HHO ได้มากพอ  ด้วยการเติม โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือใช้โปตัสเซียม ไฮดรอกไซด์ เติมลงไปในน้ำกลั่น ที่มีขายทั่วไป เพื่อทำให้มีความเข้มข้น อีก๒๕%

ซึ่งหากสามารถผลิต HHO ได้มากพอ ก็สามารถใช้ทดแทนน้ำมันได้เลย โดยไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันอีกต่อไป ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าในเครื่องยนต์ต่างๆ

ที่โดยปกติหรือในปัจจุบันนี้ยังมักนิยมใช้น้ำมันเป็นตัวผลิตพลังงานไฟฟ้าให้เครื่องยนต์

 

โดยไม่รู้ว่าโลกเราสามารถใช้น้ำจืดที่สะอาดมาผลิตเป็นไฟฟ้าใช้ในรถยนต์และเครื่องยนต์ต่างๆแทนน้ำมันเบ็นซิน ดีเซลและก๊าซธรรมชาติจากพลังงานฟอสซิลได้นานหลายสิบปีแล้ว 

 

แต่หากใช้วิธีการดังที่กล่าวมาก็จะไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันจากฟอสซิลอีกต่อไป

ซึ่งจะเป็นการดีต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รวมทั้งภัยธรรมชาติอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับหย่อมความกดอากาศต่ำและแรงคลื่นทะเล

 

นอกจากนี้ยังมีเครื่องยนต์ของรถยนต์ใช้น้ำ ในประเทศอินเดีย ที่สามารถนำมาใช้ในการกำจัดปริมาณน้ำส่วนเกินในเขื่อน อ่างเก็บน้ำและหนองบึง ตลอดจนในท้องทะเลได้

โดย นายโมฮาหมัด มาคานิ วัย 44 ปี ชาวอินเดีย ซึ่งเป็นช่างเครื่องยนต์ ได้ใช้เวลาปรับเปลี่ยนลองผิดลองถูกกับเครื่องยนต์ของรถยนต์ ด้วยวิธีการของตนเองมานานกว่า ๕ปี จึงสามารถปรับแต่งเครื่องยนต์ขนาด ๘๐๐ ซีซี ให้ใช้เติมน้ำได้ ซึ่งวิธีการก็คือ นำแคลเซียมคาร์บอนไปทำปฏิกิริยาทางเคมีกับน้ำเปล่าจำนวน ๒ลิตร จนเกิดการสันดาปกลายเป็นก๊าซอะเซทิลิน ( C2 H2) ที่ส่วนใหญ่ใช้ในงานเชื่อมโลหะและงานไฟฟ้าในเหมืองแร่ต่างๆ จนสามารถทำให้เครื่องยนต์ของรถยนต์สามารถขับเคลื่อนได้อย่างสะดวกและประหยัด

 

สุดท้ายคือเครื่องยนต์ของรถยนต์ใช้น้ำจากประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัทโตโยต้า

ที่ใช้หลักการพลังงานไฮโดรเจน มาเป็นแรงขับเคลื่อนแทนน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการคิดค้นเติมไฮโดรเจนเหลวเข้าไปในถังน้ำมันได้โดยตรง ซึ่งมีการทำโครงการวิจัยมาเป็นเวลา ๔ปี ในห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียกว่า น้ำมันไฮโดรเจน อยู่ในรูปแบบของเกลือ หรือเกลือ ” ไฮไดรด์ “ กับโมเลกุลเชิงซ้อนจำเพาะ ที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นแคปซูลกักไฮโดรเจน เอาไว้ แล้วนำไปสันดาปได้ทันที ในเครื่องยนต์ ทั้งยังช่วยปกป้องไฮโดรเจน จากอากาศขณะที่ยังไม่ไหลผ่านเข้าสู่เครื่องยนต์ ส่งผลให้ไม่มีคุณสมบัติติดไฟ

โดยใช้กรรมวิธีผลิตพิเศษ ที่เรียกว่า “ อิเล๊กโตรสปินนิ่งแบบร่วมแกน” 

ซึ่งบังคับให้โมเลกุลเกลือไฮไดรด์ถูกผลักเข้าไปอยู่ตามรูของแคปซูลโพลิเมอร์จำเพาะ เกิดเป็นโมเลกุลเชิงซ้อน มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง ๒๕องศาเซลเซียส  โดยมีราคาประมาณ ๑.๕ดอลล่าร์ต่อแกลลอน หรือราวสิบบาทต่อลิตร

 

โดยค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกของญี่ปุ่น ได้ทำการเปิดตัวรถยนต์ซีดานพลังงานทางเลือก ที่มาจากพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง ระบบไฮโดรเจนเหลว ที่มีชื่อว่า โตโยต้ามิราอิ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๘

ซึ่งสามารถวิ่งได้ด้วยระยะทางมากถึง ๔๘๓กิโลเมตร ต่อการเติมพลังงานไฮโดรเจนเหลวเพียงหนึ่งครั้ง โดยใช้เวลาในการเติมไฮโดรเจนเหลวครั้งหนึ่งครั้งละไม่เกิน ๕นาที ซึ่งทำให้สะดวก โดยไม่แตกต่างจากการเติมน้ำมันแต่อย่างใด

รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนของโตโยต้าใช้ระบบฟิวเซลล์ในการสร้างพลังานขับเคลื่อน โดยการนำเอาอ๊อกซิเจนไปผสมกับไฮโดรเจนสำหรับการสร้างกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้ขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าให้รถเคลื่อนที่ได้

โดยระบบฟิวเซลสามารถผลิตกำลังสูงสุดได้ ๑๕๕ แรงม้า (PS) รวมทั้งสามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้แม้อุณหภูมิหนาวเย็นเกือบ-22 องศาเซลเซียส

ทำให้เครื่องยนต์ไฮโดรเจน พลังงานเซลล์เชื้อเพลิง สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยระยะทางมากถึง ๔๘๓ กิโลเมตร ต่อการเติมพลังงานไฮโดรเจนเพียงหนึ่งครั้ง

ซึ่งทางโตโยต้ากำลังพัฒนาลงทุนตั้งสถานีจ่ายไฮโดรเจนในจุดต่างๆของโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา

ราคารถยนต์มิราอิ มีราคาอยู่ที่ ๑.๙ล้านบาท

 

ดังนั้นเครื่องยนต์ของรถยนต์ใช้น้ำจึงเป็นทางเลือกสำคัญ ในการกำจัดปริมาณน้ำส่วนเกินในอ่างเก็บน้ำ เขื่อน แม่น้ำ หนองบึง และทะเล ที่จะสร้างหย่อมความกดอากาศต่ำ ที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม ลมพายุรุนแรง และน้ำกัดเซาะชายฝั่งทำลายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยการนำเอามาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ต่อโลก ผ่านทางเครื่องยนต์ของรถยนต์ใช้น้ำ ที่อาจจะมีการพัฒนาให้มีขนาดเหมาะสมกับการนำไปติดตั้งตามเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ประตูระบายน้ำ หนองบึงและชายฝั่งทะเล เพื่อจัดการกับปริมาณน้ำส่วนเกินให้เป็นประโยชน์สุขต่อสังคมส่วนรวม ด้วยการผลิตเป็นไฟฟ้าให้แก่เครื่องยนต์ต่างๆได้อย่างยั่งยืน 

เช่น นำไปติดตั้งในระบบเครื่องยนต์ของรถไฟ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถยนต์ขสมก รถเมล์ร่วมบริการ   รถยนต์บริการลูกบ้านตามคอนโดมิเนี่ยม อพาร์ทเม๊นต์และหมู่บ้านต่างๆ  ตลอดจนนำไปใช้กับเครื่องยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมของวิสาหกิจชุมชน และสถานพยาบาลต่างๆ อันจะทำให้ประหยัดรายจ่าย และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน ลดปัญหามลพิษ ป้องกันภัยธรรมชาติ กำจัดปัญหาทางเศรษฐกิจ และปัญหาการจราจรที่ติดขัด เพราะใน

เนื่องจากในปัจจุบันรถยนต์ส่วนบุคคลตามหมู่บ้าน อพาร์ทเม๊นและคอนโดมิเนี่ยม นั้นได้สร้างปัญหาทางมลพิษและปัญหาการจราจรติดขัดให้แก่ท้องถนนต่างๆเป็นอย่างมาก แต่หากมีรถโดยสารให้บริการแก่ลูกบ้านของคอนโดมิเนี่ยม อพาร์ทเม๊นต์และหมู่บ้านต่างๆก็จะเป็นการช่วยลดปัญหาการจราจรและลดปัญหาค่าครองชีพ ตลอดจนปัญหามลพิษได้เป็นอย่างดี

 

นอกจากนี้ยังมีความสำเร็จของวิศวกรชาวบราซิลที่สามารถผลิตเครื่องยนต์ของรถมอเตอร์ไซด์ที่ใช้น้ำเปล่ามาเติมแทนน้ำมันด้วยเทคโนโลยี่ไฟฟ้าไฮโดรเจน ซึ่งมีชื่อเรียกเทคโนโลยี่นี้ว่า “มอเตอร์เพาเวอร์เอชทูโอ” ที่สามารถทำให้รถมอเตอร์ไซด์วิ่งได้ไกล๕๐๐กิโลเมตร ต่อการเติมน้ำเปล่าเพียง๑ลิตร ซึ่งมากกว่าการค้นพบของคนไทย ชาวอินเดียและญี่ปุ่น

โดยวิศวกรชาวบราซิลยังบอกว่าสามารถใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลอง น้ำดื่มและน้ำที่ไม่ค่อยสะอาด ก็สามารถผลิตเป็นไฟฟ้าให้พลังงานแก่รถมอเตอร์ไซด์เพื่อขับเคลื่อนได้เช่นเดียวกัน

 

ซึ่งหากพิจารณาตามนี้ ก็จะเห็นว่าเราสามารถใช้น้ำดื่มหรือน้ำจืดที่สะอาดและไม่สะอาดมากนักมาผลิตเป็นไฟฟ้าให้แก่เครื่องยนต์ระบบต่างๆ ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล

โดยหากนำไปพัฒนาสร้างให้มีขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ในเขื่อน อ่างเก็บน้ำและหนองบึงต่างๆ ก็จะทำให้เราไม่ต้องปล่อยน้ำไหลออกมา เพื่อผลิตไฟฟ้าด้วยระบบกังหันปั่นไฟแบบในอดีต

แต่สามารถเปลี่ยนน้ำให้เป็นไฟฟ้าได้โดยตรงจากการแยกไฮโดรเจนจากน้ำจืด ก็จะทำให้ปริมาณน้ำส่วนเกินในอ่างเก็บน้ำ หนองบึงและเขื่อนมีปริมาณที่เหมาะสมต่อการรองรับปริมาณน้ำฝนที่ไหลเข้ามาในเขื่อน อ่างเก็บน้ำและหนองบึง 

        

 

10.        เอาน้ำทะเลส่วนเกินมาผลิตกลายเป็นน้ำจืด เพื่อการบริโภคและอุปโภค ด้วยระบบพลังงานความร้อน รวมทั้งใช้เยื่อกรองน้ำทะเลที่ก้าวหน้า

เนื่องจากปริมาณน้ำทะเลที่มีมากเกินไป ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทำให้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ  ที่สร้างปริมาณน้ำฝนในแผ่นดินใหญ่และในทะเล มหาสมุทร จนทำให้มีน้ำทะเลที่มากกว่าปกติ โดยเฉพาะน้ำจืดที่เกิดจากการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ซึ่งมีผลต่อการเกิดน้ำทะเลที่มีกว่าเดิมอย่างหลายเท่าตัว และส่งผลทำให้เกิดแรงคลื่นทะเลที่กัดเซาะชายฝั่ง

 พร้อมทั้งส่งผลให้กระแสคลื่นใต้น้ำมีความผันผวน โดยสร้างผลกระทบต่อการเคลื่อนตัวในชั้นธรณีวิทยา ตลอดจนกระแสน้ำอุ่น และกระแสน้ำเย็น ที่เป็นปัจจัยหลักต่อการเกิดสภาพภูมิอากาศต่างๆผ่านทางหย่อมความกดอากาศสูงและหย่อมความกดอากาศต่ำ

นอกจากนี้ยังมีผลต่อการเคลื่อนตัวของตะกอนฟอสซิลแพลงตอนที่ก้นทะเล ซึ่งเป็นปัจจัยต่อการเกิดภูเขาไฟระเบิด และเกิดแผ่นดินไหวในเวลาต่อมา 

โดยเมื่อมีปริมาณน้ำส่วนเกินในท้องทะเลมากเกินไป ก็จะกลายเป็นน้ำท่วมไหลเข้าสู่แผ่นดินใหญ่ และทำให้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำที่รุนแรงมากกว่าเดิม จนสร้างปรากฎการณ์ฝนตกอย่างถล่มทลาย ในหลายพื้นที่ ซึ่งประชาชนไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดน้ำท่วมได้

แต่หากเมื่อนำเอาน้ำทะเลส่วนเกินเหล่านี้มาผลิตเป็นน้ำจืดเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างพอเหมาะพอควรแล้ว ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมและปัญหาภัยธรรมชาติอื่นๆ

โดยใช้พลังงานไฟฟ้าไฮโดรเจนจากน้ำทะเล นำมาจ่ายไฟให้แก่เครื่องผลิตน้ำจืด หรือเครื่องกรองน้ำจืดจากน้ำทะเล ที่มีเยื่อเมมเบรน หรืออาจใช้ไฟฟ้าต้มน้ำทะเล จนกลายเป็นไอน้ำแล้วทำการควบแน่นจนกลายเป็นน้ำจืดเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อไป 

หรือใช้พลังงานแสงอาทิตย์กลั่นน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำจืด ก็สามารถทำได้ แต่อาจจะมีปัญหาในเวลาที่ขาดแสงอาทิตย์อยู่บ้าง (เหมือนกับในประเทศตะวันออกกลางที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล)

 

11.        ทำสแลนดักลมดักเมฆ ที่มีเยื่อกรองอากาศ ทำหน้าที่ควบแน่น เปลี่ยนลมและเมฆให้กลายเป็นน้ำ แล้วนำมาผลิตเป็นไฟฟ้า โดยติดตั้งอยู่ในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๒๐๐ เมตรขึ้นไป

เนื่องจากเมฆและลมต่างมีองค์ประกอบของคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน รวมทั้งไนโตรเจน แต่หากสามารถปรับแต่งสถานะของลมและเมฆให้กลายเป็นของเหลว ก็จะไม่มีผลทำให้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ ที่เป็นแหล่งกำเนิดฝนและลมพายุที่รุนแรง จึงต้องทำการติดตั้งระบบอุปกรณ์ที่สามารถดักจับมวลอากาศที่เป็นลมและมวลอากาศที่ก่อตัวเป็นเมฆ

ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะกับพื้นที่ใกล้ทะเล และใกล้แหล่งลมที่มีกำลังแรงมากพอ โดยต้องเป็นพื้นที่ซึ่งมีระดับความสูง หรือมีภูเขาที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๒๐๐เมตร ขึ้นไป และมีทำเลของที่ตั้งอยู่ในทิศทางลม ทิศทางเมฆ เพื่อสะดวกในการดักจับเมฆและลมให้กลายเป็นน้ำได้ง่าย จากนั้นจึงนำไปกักเก็บเอาไว้ในแท๊งค์หรือสระน้ำที่อยู่ในพื้นที่สูงมากว่า๑๕๐เมตร

โดยใช้แผ่นสแลนที่นิยมทำเป็นโรงเรือนเพาะชำกล้วยไม้ กล้าไม้ต่างๆหรือใช้ในงานก่อสร้าง ที่ใช้เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่เจ้าหน้าที่และป้องกันฝุ่นจากงานก่อสร้างออกสู่พื้นที่นอกไซร์งาน โดยใช้เสาขึงสแลนที่มีความสูงตั้งแต่๕เมตรขึ้นไป

ซึ่งต้องมีการติดตั้งแผ่นสำลี เยื่อกรอง ขนสัตว์ปีก ใยบวบและใยพืชอื่นๆที่ช่วยดักจับมวลอากาศร้อนให้กลั่นตัวกลายเป็นของเหลว โดยมีสารคาร์บอนแบบเหลวเช่น น้ำมันพืช กาว เจล ยางไม้ โคลน หรือมูลสัตว์ นำไปทาลงที่แผ่นสแลนเพื่อทำให้มวลอากาศร้อนของลมและเมฆเกิดการควบแน่นกลายเป็นของเหลว

 เนื่องจากน้ำและคาร์บอนที่ปนอยู่ในมวลอากาศจะเปลี่ยนสถานะจากก๊าซ ควันไอน้ำและละอองน้ำกลายเป็นหยดน้ำได้ง่าย เหมือนได้สัมผัสกับของเหลวที่เป็นสารคาร์บอนอย่างน้ำมันพืช เจล กาว ยางไม้ โคลนและมูลสัตว์

 รวมทั้งพวกขนสัตว์ปีก ใยพืช และตัวแผ่นของสแลน จนทำให้ลมและเมฆกลายเป็นหยดน้ำได้ในที่สุด

จากนั้นจึงนำเอาหยดน้ำไปกักเก็บอยู่ในแท๊งค์หรือสระน้ำในระดับความสูงมากกว่า๑๕๐เมตร ให้มากพอตามที่ต้องการ แล้วจึงระบายลงสู่ที่ต่ำกว่า ผ่านทางท่อที่ติดตั้งกังหันปั่นไฟเอาไว้ เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าจากแรงดันน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ

โดยมีการติดตั้งกังหันปั่นไฟเอาไว้ที่บริเวณประตูระบายน้ำของบ่อน้ำด้านล่างด้วย

 แล้วใช้แรงดันของน้ำหมุนกังหันปั่นไฟผลิตเป็นไฟฟ้า

 จากนั้นจึงนำเอาน้ำที่หมุนกังหันปั่นไฟไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อไป โดยกักเก็บเอาไว้ในบ่อใต้ดินที่ลึกมากพอตั้งแต่ ๓๐เมตรขึ้นไปในพื้นที่ด้านล่าง หลังจากที่น้ำไหลผ่านลงมาจากที่สูง จนผลิตไฟฟ้าได้พอสมควรแล้ว จึงต้องกักเก็บน้ำเอาไว้ในบ่อใต้ดิน หรือบ่อที่มีความลึกมากตั้งแต่ ๓๐เมตรขึ้นไป

หรือใช้วิธีการติดตั้งเครื่องยนต์ของรถยนต์ใช้น้ำแบบรีแอคเตอร์วัน ที่สามารถเปลี่ยนน้ำที่กักเก็บเอาไว้บนที่สูงเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าได้โดยตรง

รวมทั้งสามารถเลือกปรับเปลี่ยนน้ำที่อยู่ในบ่อด้านล่าง ให้เปลี่ยนเป็นไฟฟ้าได้โดยตรงเช่นกัน

ด้วยระบบเครื่องยนต์ของรีแอคเตอร์วัน ก็สามารถกระทำได้ ทั้งสองรูปแบบ

เพื่อลดปริมาณเมฆหย่อมความกดอากาศต่ำและแรงลมที่มีความชื้นปะปนอยู่ ให้มีปริมาณลดลงจนไม่ก่อเกิดปัญหาแก่ประชาชนได้ หากกลายเป็นฝนตกที่รุนแรงและกลายเป็นลมพายุที่มีกำลังแรงสูงมาก จนทำลายบ้านเรือนสิ่งปลูกสร้าง ดังที่ปรากฎในข่าว

 

12.        ทำแท๊งค์น้ำใต้ดิน ที่มีความลึกมาก ตามอาคารสถานที่ในชุมชนต่างๆ

ดังเช่นที่เคยมีการทำแท๊งค์น้ำเอาไว้ใต้ดิน ตามสถานศึกษา วัด และหน่วยงานราชการหลายแห่งเพื่อรองรับน้ำฝนนำมากักเก็บเอาไว้ แต่อาจจะไม่ลึกมากนัก

เช่น ที่วัดกลางวรวิหาร อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ และโรงเรียนอนุสาส์นวิทยา อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงพยาบาลเมืองสมุทร ก็มีแท๊งค์น้ำใต้ดิน เพื่อใช้ประโยชน์ ทั้งใต้ดินและบนบก

โดยด้านบนใช้ทำกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน ส่วนด้านล่างใต้ดินใช้เก็บน้ำฝนเพื่อนำมาใช้ในยามขาดแคลน

โดยสถานการณ์ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก จึงต้องมีการสร้างแท๊งค์น้ำใต้ดินขนาดใหญ่ที่มีความลึกมากกว่า ๕เมตร กว้างมากกว่า ๑๒ เมตร และยาวมากกว่า ๓๐เมตร เพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน

 เพื่อประยุกต์นำเอาน้ำที่กักเก็บเอาไว้ มาใช้ในภาวะการณ์ต่างๆ ที่คับขัน และยังทำให้เกิดการพร่องน้ำในพื้นที่ โดยนำมากักเก็บเอาไว้ในแท๊งค์น้ำใต้ดินให้มากขึ้น

 

13.          ทำเขื่อนใต้ดิน ในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน โดยเฉพาะทางภาคใต้ซึ่งเป็นแหล่งหย่อมความกดอากาศต่ำขนาดใหญ่ของประเทศ

จากฐานข้อมูลที่มีอยู่ เราสามารถรับรู้ได้ว่าทางภาคใต้ของประเทศไทย มีช่วงเวลาที่ฝนตกมากกว่าภาคอื่นๆของประเทศ เนื่องจากเป็นพื้นที่อยู่ติดกับทะเลทั้งสองฝั่ง ทั้งด้านฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน จึงทำให้ทางภาคใต้ของประเทศมีเดือนที่ฝนตกมากกว่าภาคอื่นๆ  เพราะมีลมมรสุมจากทะเลทั้งสองฝั่งพัดเข้าสู่พื้นที่อยู่เสมอ

  โดยมีช่วงที่ฝนตกมากถึง๘เดือน  และมักประสบกับปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ ทั้งจากน้ำฝน น้ำป่าและน้ำทะเลหนุน ที่เข้ามากัดเซาะชายฝั่ง ทำลายพืชผลทางการเกษตร และสร้างความขาดแคลนน้ำจืดเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างร้ายแรง

จนทำให้องค์พ่อหลวงรัชกาลที่๙ของชาวไทย ทรงต้องดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำทะเลหนุน รวมทั้งปัญหาน้ำท่วมด้วยโครงการเขื่อนปากพนัง และโครงการแก้มลิง ทั้งในพื้นที่ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราชและอีกหลายจังหวัดทางภาคใต้

ซึ่งจากปัญหาดังกล่าว ทำให้เรามองเห็นโอกาสดีบางอย่างของปัญหาที่มีอยู่ นั่นคือ ภาคใต้ของประเทศเป็นแหล่งผลิตน้ำจืดที่สำคัญมากที่สุดของประเทศ โดยมากกว่าทุกภูมิภาคของประเทศรวมกัน

 ซึ่งหากทำการเชื่อมโยงปริมาณน้ำและการไหลของน้ำส่วนเกินจากทางภาคเหนือและภาคอีสานให้มารวมอยู่ที่ภาคใต้

โดยเมื่อรวมกับปริมาณน้ำฝนส่วนเกินในภาคใต้ที่มีมากกว่าภาคอื่นๆแล้ว ก็จะทำให้เราสามารถมีน้ำจืดใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ผลิตน้ำจืดเพื่อการอุปโภคบริโภคได้อย่างมหาศาล

 โดยนำปริมาณน้ำส่วนเกินเหล่านี้ไปกักเก็บเอาไว้ในเขื่อนใต้ดิน ที่อยู่ลึกลงไปมากกว่า ๕๐เมตร หรือประมาณ ๓๐๐เมตร โดยสร้างให้อยู่ใต้พื้นที่ทางการเกษตร พื้นที่ป่าและสวนสาธารณะต่างๆ รวมทั้งพื้นที่ของบ่อน้ำ ตลอดจนหนองน้ำต่างๆ

 เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งบนบกและใต้ดินอย่างคุ้มค่า โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน อันแตกต่างไปจากการสร้างเขื่อนแบบที่อยู่บนบก

ซึ่งต้องมีการเวนคืนที่ดินของประชาชน พื้นที่ส่วนราชการและพื้นที่ทางธรรมชาติ เพื่อให้กลายเป็นเขื่อนกักเก็บน้ำเอาไว้บนบกเพียงอย่างเดียว

เนื่องจากพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศมีลมมรสุมจากทะเลทั้งสองฝั่ง จึงทำให้ได้ปริมาณน้ำฝนที่มากล้นเกินความต้องการ

 ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่มักพัดผ่านเข้ามาทางภาคเหนือและภาคอีสานของไทย ทำให้เกิดปริมาณน้ำฝนอย่างมหาศาล ไหลเอ่อเข้าท่วมสู่พื้นที่ตัวเมือง ตลอดจนพื้นที่ทางเศรษฐกิจของพี่น้องประชาชนอยู่เสมอ

แต่หากมีการสร้างเขื่อนใต้ดินขึ้นในพื้นที่ทั้งสามภาค โดยให้มีเขื่อนใต้ดินขนาดใหญ่ขึ้นที่ภาคใต้ของประเทศ ที่ต้องมีความลึกมากกว่า ๓๐๐เมตร และมีความกว้างยาวมากว่า ๗๐๐เมตร ก็จะเป็นการป้องกันปัญหาน้ำท่วมและปัญหาการขาดแคลนน้ำจืด

รวมทั้งยังเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ทั้งระบบไฟฟ้าไฮโดรเจนจากน้ำ และระบบกังหันปั่นไฟ ที่ได้จากเวลานำน้ำจากทั้งภาคเหนือและภาคอีสานให้ไหลเชื่อมโยงผ่านมายังเขื่อนใต้ดินทางภาคใต้   ผ่านทางประตูระบายน้ำของคูคลองต่างๆ  รวมทั้งใช้ทางเชื่อมโยงผ่านทางใต้ดิน

เนื่องจากประเทศไทยมีความสำเร็จทางวิศวกรรมก่อสร้างใต้ดินมากเพียงพอมาเป็นเวลาหลายสิบปี

 จึงไม่น่าจะมีปัญหาในการก่อสร้างทางเชื่อมโยงใต้ดินเพื่อนำเอาน้ำจากเขื่อนใต้ดินของสองภูมิภาคให้ไหลลงมายังเขื่อนใต้ดินทางภาคใต้ แต่อย่างใด  

และด้วยแรงดันน้ำที่ไหลลงสู่เขื่อนใต้ดิน ย่อมสามารถผลักดันกังหันปั่นไฟได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อนำเอาน้ำจากสองภูมิภาคมาอยู่ในเขื่อนใต้ดินของทางภาคใต้ ก็จะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าไฮโดรเจนจากน้ำจืด             แบบระบบรีแอคเตอร์วัน 

หรือใช้เครื่องยนต์ของรถยนต์แบบรีแอคเตอร์วัน  และแบบเครื่องยนต์เติมน้ำเปล่าของวิศวกรชาวบราซิลที่สามารถเปลี่ยนน้ำจืดให้กลายเป็นไฟฟ้าได้โดยตรง จนไม่เหลือให้นำมาใช้ได้ใหม่อีกครั้ง  ก็จะเป็นการป้องกันปัญหาภัยพิบัติและปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดเพื่อการอุปโภคบริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำให้ประเทศได้มีพลังงานไฟฟ้าที่สะอาดอย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติ และเวนคืนที่ดินของประชาชน ตลอดจนไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับพลังงานจากฟอสซิลอีกต่อไป

14.        ทำอุโมงค์รับน้ำใต้ดิน ที่มีความลึกมากกว่า ๕เมตรและกว้างมากกว่า ๔เมตร

เช่นที่ประเทศญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว ได้ทำโครงการสร้างอุโมงค์รับน้ำใต้ดิน หรืออุโมงค์ระบายน้ำใต้ดิน ที่สร้างมาเป็นเวลาถึง๑๗ปี มีความลึกมากกว่าตึกสูง๕ชั้น และมีความกว้าง ตลอดจนความยาวมากที่สุดในโลก เพื่อป้องกันน้ำท่วม

โดยหากเราใช้แนวทางการสร้างอุโมงค์ใต้ดินขนาดใหญ่ ขึ้นในพื้นที่ทางการเกษตร และในเขตชานเมือง โดยด้านบนให้ใช้ทำการเกษตร ส่วนด้านล่างทำเป็นอุโมงค์รับน้ำใต้ดิน

รวมทั้งสร้างขึ้นใต้เกาะกลางถนนทางหลวง และสองข้างทางของถนนทางหลวงในต่างจังหวัด ก็จะสามารถรองรับน้ำที่มีมากเกินกว่าปกติ เพื่อเอาไว้ใช้ในคราวคับขัน หรือใช้ป้องกันน้ำท่วมได้อย่างง่ายดาย

เพื่อไม่ให้มีน้ำท่วมในเขตตัวเมือง และทำให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอเพื่อการเกษตร และผลักดันน้ำทะเลให้เจือจาง

  ตลอดจนเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบไฟฟ้าไฮโดรเจนจากน้ำ ระบบรีแอคเตอร์วันและวิธีการของวิศวกรชาวบราซิล หรือใช้วิธีการนำแคลเซียมคาร์บอนไปทำปฏิกิริยาทางเคมีกับน้ำเปล่าจำนวน ๒ลิตร จนเกิดการสันดาปกลายเป็นก๊าซอะเซทิลิน   ( C2 H2) ที่ส่วนใหญ่ใช้ในงานเชื่อมโลหะและงานไฟฟ้าในเหมืองแร่ต่างๆ จนสามารถทำให้เครื่องยนต์ของรถยนต์สามารถขับเคลื่อนได้ อย่างสะดวกและประหยัด

ก็จะเป็นทางออกสำหรับการป้องกันทั้งปัญหาน้ำท่วม และปัญหาด้านพลังงานไฟฟ้า ให้หมดสิ้นไปอย่างยั่งยืน ด้วยปริมาณน้ำในอุโมงค์รับน้ำใต้ดินและเทคโนโลยี่ผลิตไฟฟ้าจากน้ำ

โดยอาจจะมีการติดตั้งกังหันปั่นไฟ ด้วยแรงดันของกระแสน้ำในอุโมงค์รับน้ำใต้ดินที่ไหลมาจากหลายพื้นที่         ซึ่งเราสามารถควบคุมการไหลของน้ำในอุโมงค์ใต้ดิน ได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบไฮโดรลิค ก็จะทำให้ปัญหาน้ำท่วมและการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้ากลายเป็นอดีต

แต่สำหรับประเทศไทยนั้นอาจจะใช้วิธีการสร้างอุโมงค์รับน้ำใต้ดิน โดยสร้างให้มีความลึกเพียง ๑๒เมตร กว้าง ๖เมตรและยาวตามแนวถนนทางหลวง หรือตามพื้นที่ทางการเกษตรในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ของการทำนา ซึ่งมีพื้นที่มากกว่าการทำการเกษตรแบบอื่นๆ ก็ดูน่าจะเหมาะสมมากกว่า

15.        สร้างถังน้ำขนาดใหญ่ แล้วใช้แสงอาทิตย์โฟกัสเผาน้ำให้กลายเป็นไอ เพื่อนำไปผลิตเป็นไฟฟ้า

ในประเทศตะวันออกกลางมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำจืด แต่หากเรานำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนน้ำจืดในถังใบใหญ่ ด้วยหลักการโฟกัสรวมแสงอาทิตย์ ด้วยเลนต์ขนาดใหญ่ เพื่อเผาน้ำให้เดือด จนกลายเป็นไอน้ำ แล้วนำไอน้ำเหล่านั้น มาหมุนกังหันปั่นเป็นไฟฟ้า

หรือผลิตเป็นไฟฟ้าด้วยวิธีการอื่น ที่ก้าวหน้ามากกว่า ก็จะสามารถใช้แก้ไขปัญหาน้ำท่วมและการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืน

 โดยอาจใช้พื้นที่ใต้ดินลึก๕๐เมตร แบบบ่อขุดดิน ขุดทรายขาย ที่มีความกว้าง๕๐เมตร และยาว๒๐๐เมตร เพื่อใช้กักเก็บน้ำจืด แล้วติดตั้งเลนต์รวมแสงขนาดใหญ่ที่มีกำลังแรงมากกว่าปกติ แล้วมีเครื่องดูดอากาศเพื่อดูดเอาไอน้ำ ให้ไปหมุนกังหันปั่นไฟ หรือดูดไอน้ำไปผลิตเป็นไฟฟ้าด้วยวิธีการอื่น

 ก็จะสามารถช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วม และการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืนอีกแนวทางหนึ่ง

16.        ใช้เตาปฏิกรณ์ขนาดใหญ่ที่ใช้ตัวทำปฏิกิริยาอื่นๆ ที่ไม่ใช่พลังงานนิวเคลียร์ ในการต้มน้ำให้กลายเป็นไอน้ำ

ในการทดลองค้นคว้าเรื่องอนุภาคที่ทวีปยุโรป ได้มีการใช้ตะกั่วในการทำปฏิกิริยาในเครื่องเร่งอนุภาค จนได้ค่าความร้อนมากกว่าดวงอาทิตย์ มากกว่า ๒เท่า ซึ่งทำให้ปลอดภัยจากการใช้พลังงานยูเรเนียม และพลูโตเนียม ที่มีสารกัมมันตภาพรังสี   รวมทั้งตะกั่วเป็นแร่ธาตุที่หาได้ง่าย รีไซเคิลได้ง่ายมากกว่ายูเรเนียม

แต่ในประเทศไทยอาจจะใช้แร่ธาตุตัวอื่น หรือใช้เชื้อเพลิงแบบอื่นในการสร้างความร้อน เช่น ใช้ขยะอุตสาหกรรมที่ติดไฟได้ง่าย หรือใช้เชื้อเพลิงจากมูลสัตว์ และเนื้อไม้ของพืช ที่ปลูกเพื่อทำเป็นเชื้อเพลิงให้แก่เตาปฏิกรณ์โดยตรง หรืออาจจะใช้พลังงานเอทานอลจากพืช

อย่างเช่น ต้นจาก (ใช้ส่วนจั่นที่มีน้ำหวานมาก) หากปลูกมากจะมีผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะให้แผ่นดินที่งอกงามสูงได้เร็ว เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของกุ้งก้ามกราม ปู และหอย รวมทั้งให้อาหารแก่สัตว์น้ำเพราะกิ่งจากที่เน่าเสีย จะทำให้มีแบคทีเรียที่ลูกไรชอบกินเป็นอาหาร  จึงกลายเป็นแหล่งอาหารให้แก่พวกสัตว์น้ำ โดยเฉพาะกุ้งและปลาน้ำกร่อย

โดยต้นจากสามารถให้น้ำหวานเพื่อทำเอทานอล ผ่านทางจั่นของต้นจาก ซึ่งต้นจากสายพันธ์พื้นเมือง ๑ไร่สามารถให้เอทานอลได้มากกว่า ๑๕ตัน

 ซึ่งมากกว่าการผลิตเอทานอลจากต้นอ้อยและมันสำปะหลัง รวมทั้งยังมีต้นทุนต่ำกว่า เพราะทนน้ำท่วม น้ำจืดและน้ำกร่อย ไม่ต้องให้ปุ๋ย ไม่ต้องรดน้ำเพราะอาศัยน้ำจากแม่น้ำและทะเลช่วยป้องกันตลิ่งพัง โดยสร้างแผ่นดินให้งอกงาม ช่วยซับคาร์บอนและป้องกันลมพายุได้ดี

ซึ่งประเทศมาเลย์เซียได้มีการลงทุนพัฒนาต้นจากเพื่อการผลิตเป็นไฟฟ้าและเอทานอลเพื่อเก็บเอาไว้ใช้ในคราวคับขันด้วงวงเงินลงทุนมากกว่า ๑หมื่นล้านริงกิต (ประมาณ ๑๔,๘๐๐ล้านริงกิตขึ้นไป)  

มะพร้าว (ใช้ส่วนจั่นที่มีน้ำหวานมากผลิตเป็นเอทานอล)

 กล้วย(ใช้ส่วนของผลดิบแบบการผลิตเอทานอลจากรากมัน และใช้ส่วนของหัวปลีหมักทำเป็นเอทานอลได้เช่นกัน  ในออสเตรเลียมีโรงไฟฟ้าจากพลังงานกล้วย โดยเน้นส่วนของหัวปลี )

สาเก (ใช้ผลดิบแบบการผลิตเอทานอลจากรากมัน)

 เตยทะเล (ใช้ผลดิบที่มีแป้งเยอะมากและหากมีการปลูกกันมากๆ จะช่วยป้องกันน้ำกัดเซาะชายฝั่งทะเล ได้เป็นอย่างดี)

อ้อย

ตาล(ใช้น้ำตาลจากจั่นทำเอทานอล)

หอมหัวใหญ่ (ใช้ผลิตเป็นเอทานอลได้เช่นกัน) 

แก้วมังกร และพืชตระกูลแตง ก็สามารถพัฒนาสายพันธ์ที่เหมาะสำหรับการผลิตเป็นเอทานอล เพื่อการผลิตพลังงานได้โดยตรง โดยไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับสายพันธ์ที่เอาไว้บริโภคในท้องตลาด 

ต้นเมเปิ้ล(มีน้ำหวานอยู่ในลำต้น ใช้ผลิตเป็นไซรับเมเปิ้ล ที่ประเทศแคนนาดาผลิตมาก แต่สามารถปลูกทางภาคเหนือของไทยได้ กรีดน้ำหวานมาใช้ได้ โดยการใช้สว่านเจาะตรงกลางลำต้น แล้วเสียบก๊อกกับสายยาง ต่อสายยางเอาน้ำหวานมาต้มเคี่ยวได้โดยตรง)

ต้นว่านหางจระเข้ ปลูกง่ายโตเร็ว ทำเอทานอลได้ ในประเทศเม๊กซิโกมีการใช้ว่านหางจระเข้

และต้นอะกาเบ้พืชตระกูลป่านมาทำเป็นเหล้าชื่อปีเก้และตากีล่า 

บางประเทศทำเครื่องดื่มจากว่านหางจระเข้           ทำแอลกอฮอร์จากว่านหางจระเข้ได้ เพราะว่านหางจระเข้ชอบพื้นที่แบบแห้งแล้ง ดินปนทราย โดยเป็นพืชตระกูลกระบองเพชร

 ข้าวฟ่างหอม สามารถผลิตทำเป็นเอทานอลได้ในเวลารวดเร็ว(๒เดือนเก็บเกี่ยวได้) เพราะต้นข้าวฟ่างหอมเจริญเติบโตได้เร็วกว่าพืชตระกูลมัน และชอบดินปนทราย พื้นที่แห้งแล้ง

ต้นสาคู ในลำต้นมีแป้งเยอะมาก สามารถนำมาผลิตเป็นเอทานอลได้ เป็นพืชตระกูลปาล์มคล้ายต้นจากและปาล์ม

ต้นตะโกนา มีผลรสหวานฝาด ชอบพื้นที่น้ำกร่อย ขึ้นตามตลิ่ง สามารถนำมาผลิตเป็นเอทานอลได้เช่นกัน

ต้นฝรั่ง (ผลนำมาผลิตเป็นเอทานอลได้ เนื้อไม้ใช้ทำไฟฟ้าชีวมวล ใบช่วยดูดซับก๊าซมีเทน ทนต่อน้ำกร่อย )

ข้าวผลิตเป็นเอทานอลได้ อย่างที่ผลิตเป็นสุรา

ไผ่ผลิตเป็นเอทานอลได้ โดยใช้ส่วนหน่อ

มันสำปะหลัง ทำเป็นเอทานอลได้ โดยปลูกร่วมกับพืชเอทานอลตัวอื่นเพื่อป้องกันปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อม ที่มักเกิดขึ้นจากการปลูกพืชเอทานอลแบบเชิงเดี่ยว

เห็ด สามารถนำมาผลิตเป็นเอทานอลได้เช่นกัน เพราะโตเร็วและมีความเป็นโปรตีนเยอะมาก เปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ดีเช่นกัน ซึ่งเจริญเติบโตได้เร็วกว่าพืชอื่นๆ ยกเว้นถั่วเขียว

ต้นลำพู ลำแพนและชำมะเรียง พืชน้ำกร่อยยืนต้น ที่มีผลนำมาพัฒนาเป็นเอทานอลราคาต่ำได้ เพราะไม่มีความต้องการทางการบริโภค และยังมีผลดีเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ช่วยต้านลมพายุ ป้องกันน้ำกัดเซาะชายฝั่ง ตลิ่งลำคลอง ซับคาร์บอนให้อากาศหายใจอย่างดี

  ลูกลำพูและลำแพนมีรสเปรี้ยวหมักทำเอทานอลได้

โดยอาจจะสร้างเป็นโรงไฟฟ้าเอทานอลจากพืชต่างๆได้โดยตรง

หรือใช้พลังงานไบโอดีเซลจากพืช อย่างเช่น มะพร้าว (เนื้อมะพร้าวทำเป็นไบโอดีเซลได้)

ยางนา (มีค่าความเป็นน้ำมันมากถึง ๗๘%)            บัวหลวง(เมล็ดบัวนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซลได้)  ปาล์มน้ำมัน ต้นสำโรง  ต้นกระบก สาหร่าย ทานตะวัน คาโนล่า มะกอกน้ำมัน ยูคาลิปตัส มะเยาว์หิน  ชาน้ำมัน ไผ่ ถั่วดาวอินคา แมคคาเดเมีย อัลมอนด์ ข้าว (น้ำมันรำข้าว น้ำมันจมูกข้าว) ก็สามารถผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลได้เช่นกัน

 ใบพืชตระกูลอ้อย และหญ้า สามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลได้เช่นกัน (มหาวิทยาลัยขอนแก่นสามารถสร้างเตาปฏิกรณ์ที่ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากใบอ้อยได้สำเร็จ )

ต้นยางพารา ที่ใช้ส่วนเมล็ดผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลได้

และเนื้อของมะพร้าวก็สามารถนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซลได้ โดยชาวอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์สามารถพัฒนาผลของมะพร้าว มาทำเป็นน้ำมันไบโอดีเซลได้สำเร็จ และใช้กันอย่างแพร่หลาย 

รวมทั้งต้นสบู่ดำ

สามารถสร้างเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานไบโอดีเซลได้

หรือทำโรงไฟฟ้าชีวมวลจากต้นกระถิน ต้นไผ่ ต้นจาก (กิ่ง ลูกจาก เปลือก ) มะพร้าว (กิ่ง กาบ กะลา) ต้นปาล์มสวยงามและปาล์มน้ำมัน          (กิ่ง กาบ )

ต้นคูณ (ใช้ส่วนฝักคูณที่แก่และแห้งติดไฟได้ดี ให้ไฟแรง) 

ต้นอินทผาลัม  (ใช้ส่วนกิ่งและ กาบ)  ต้นค้อ (ใช้ส่วนกิ่งและกาบ ) ต้นชก (กิ่ง )กล้วย พืชชายเลน อย่างต้นโกงกาง ลำพู ลำแพน 

ต้นลาน (ใช้ส่วนกิ่งและกาบ)

ต้นคัก ต้นตะบูน ต้นหูกวาง มะม่วงหิมพานต์ ต้นกระบก (ให้ค่าความร้อนสูง)   ต้นชะโนด (กิ่ง) ต้นถั่วดาวอินคา (เป็นไม้ยืนต้นให้ผลผลิตยาวนาน ๕๐ปี ) ต้นสะเม็ด 

ต้นตะขบ  ทนแล้งขึ้นได้ง่าย เติบโตได้เร็วไวภายในสองเดือน สูงสามเมตร (กิ่ง) ฝรั่ง ต้นสนทะเล และสนภูเขา ต้นท้อพื้นเมือง ต้นแมคคาเดเมีย อัลมอนด์ (กิ่ง  เปลือกเมล็ด)

ต้นตะขบและหญ้าแฝก พืชที่โตเร็ว ให้กิ่งผลิตเป็นไฟฟ้าชีวมวลได้เป็นอย่างดี เพราะโตเร็วและมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมเยอะมาก

 ต้นยางพารา (ใช้ขี้ยางพารา กิ่ง เปลือกเมล็ดยางพารา ที่เก็บความร้อนเอาไว้มากมาผลิตเป็นพลังงานได้)

  น้ำยางจากต้นสนและยางอินเดียก็สามารถนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงาน จ่ายไฟฟ้าให้แก่เตาปฏิกรณ์เพื่อต้มน้ำให้กลายเป็นไอ แล้วนำมาผลิตเป็นไฟฟ้าและน้ำสะอาดได้อีกครั้งหนึ่ง

นอกจากนี้ก็คือ มูลสัตว์จำพวก วัว ควาย แพะ แกะ สุนัข แมลง หนู (ช่วยกำจัดขยะอาหาร และผลิตมูลได้เร็ว ) หมู ช้าง ม้า โดยเฉพาะพวกสัตว์ปีกอย่าง ค้างคาว (ใช้ทำเชื้อเพลิงในสมัยโบราณ ทำระเบิดได้ดี) นก ไก่ เป็ด ห่าน นกพิราบ นกกระยาง และนกน้ำต่างๆที่ใช้ผลิตเป็นเชื้อเพลิงได้อย่างดี และเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยลดต้นทุนทางเศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย

ทำให้สามารถช่วยกำจัดน้ำท่วม หรือปริมาณน้ำส่วนเกินได้ด้วยพลังงานเชื้อเพลิงจากมูลสัตว์เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

 

17.        ทำสวนเกษตรทฤษฎีใหม่ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มีแก้มลิงระดับจุลภาคเกิดขึ้นแบบเซลล์ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ไม่เกิดการรวมศูนย์แบบในระบบเขื่อนน้ำบนบก

เนื่องจากพื้นที่ของสวนเกษตรทฤษฎีใหม่ ต้องมีระบบบ่อน้ำ มีท้องนา จึงทำให้กลายเป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อเอาไว้ใช้เองในพื้นที่การเกษตร ที่แวดล้อมไปด้วยพืชพันธ์หลากหลายชนิด ทั้งพืชไร่ พืชสวน ท้องนา และสวนป่าธรรมชาติที่กักเก็บเอาไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อให้เป็นบ้านของสัตว์และแมลงในการแพร่พันธ์ ช่วยผสมเกษร ช่วยดูแลพันธ์พืช บำรุงดิน ที่ทางภาคอีสานจะมีสิ่งที่เรียกว่าดอน คือพื้นที่ซึ่งนูนขึ้นในแปลงนา แปลงไร่

โดยให้มีพันธ์ไม้ตามธรรมชาติอาศัยอยู่ในพื้นที่ดอน หรือป่าอนุรักษ์ของพื้นที่ ทำให้มีปุ๋ยจากพืชและสัตว์ต่างๆที่อาศัยอยู่ มีสัตว์ที่คอยช่วยควบคุมระบบนิเวศน์ เช่น อาจมีนกเหยี่ยว นกเค้า นกฮูก นกแสก เพื่อคอยกำจัดหนู งู ศัตรูพืชต่างๆ มีกระรอก กระแต หมูป่า พังพอนช่วยกำจัดแมลง มีแมลงภู่ ผึ้ง ผีเสื้อและค้างคาวเพื่อผสมเกษรดอกไม้ ให้ปุ๋ย มีตั๊กแตน ตัวเบียน

เพื่อช่วยกำจัดแมลงและเชื้อโรค ปรสิตบางอย่าง มีนกกระยาง นกกระสา นกเงือก นกที่จิกแมลงในลำต้น เพื่อช่วยกำจัดศัตรูพืชโดยที่ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง และยังได้ปุ๋ยจากมูลสัตว์ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดอน

ทำให้เกิดผลดีด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ เนื่องจากช่วยลดต้นทุนทางการผลิตและการดูแลรักษา

สวนเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ ยังทำให้ต้นทุนการดำรงชีพลดน้อยลง อาหารการกินจะมีราคาถูก คนไม่อดอยาก ค่าของเงินจะมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้เงิน๑บาทมีค่ามากถึง ๓๐บาท ได้เหมือนในอดีตก่อนยุคที่ประเทศไทยจะมีถนนสายบางนาตราด และถนนวิภาวดีรังสิต

เนื่องจากไม่ต้องซื้อเชื้อเพลิงหุงต้ม ไม่ต้องซื้อน้ำกินน้ำใช้ ไม่ต้องซื้อกับข้าว ไม่ต้องซื้อปุ๋ย ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ต้องปลูกพืชเพื่อหวังขายเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการปลูกเพื่อการบริโภคเอง เหลือแบ่งปัน ทำบุญ แบ่งขายและแปรรูปขาย

 ทำให้ต้นทุนทางเศรษฐกิจของประเทศต่ำ ค่าแรงต่ำ แต่มูลค่าของเงินบาทมีราคามาก รัฐบาลไม่ต้องมาช่วยเหลือเกษตรกร เพราะเกษตรกรมีทางเลือกในการขายพืชผลได้หลายแบบ สลับปรับเปลี่ยนกันไปตามฤดูกาล และชนิดพืชพันธ์ที่มีอย่างหลากหลาย

รวมทั้งสัตว์น้ำ และสัตว์เลี้ยงต่างๆ ในพื้นที่ๆสร้างรายได้ ให้แก่ชีวิตได้ทุกวัน

จึงทำให้มีต้นทุนในการผลิตต่ำ อันมีผลทำให้ราคาผลผลิตที่นำออกมาขาย ต่อประชาชนจึงมีราคาต่ำลงไปด้วย ส่งผลโดยตรงต่อค่าเงินบาท ที่จะมีค่ามากขึ้น เช่น ๑บาทอาจจะสามารถซื้อน้ำดื่มได้ หรือซื้อขนมขึ้นรถโดยสารได้อย่างสบาย

ทำให้เกิดการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และส่งเสริมการลงทุนของคนไทยแบบวิสาหกิจชุมชน หรืออุตสาหกรรมในชุมชน อุตสาหกรรมในครัวเรือนและระบบสหกรณ์มากขึ้น ทำให้มีความเข้มแข็งมากโดยไม่ต้องพึ่งพาภาครัฐและการลงทุนจากภาคเอกชนนอกพื้นที่แต่อย่างใด

ซึ่งบ่อน้ำ และท้องนาของพื้นที่สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ จะช่วยทำหน้าที่เป็นแก้มลิง คอยกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ ได้อย่างดี  โดยหากขุดสระน้ำให้ลึก กว้าง และยาวมาก ยิ่งทำให้สามารถกักเก็บน้ำ เพื่อเอาไว้ใช้ได้มากยิ่งขึ้น อย่างน้อยลึก๕เมตร กว้าง๑๕เมตรและยาว ๕๐เมตร

ก็จะเป็นการป้องกันปัญหาน้ำท่วมได้อย่างดี โดยระบบการดำเนินชีวิตของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ ซึ่งไม่ต้องใช้งบประมาณของภาครัฐแต่อย่างใด

โดยหากมีพื้นที่ทางการเกษตรแบบเกษตรทฤษฎีใหม่อย่างน้อย๔๐% ในพื้นที่ของแต่ละอำเภอ หรือมีพื้นที่สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ แบบสวนสาธารณะของแต่ละตำบลอย่างน้อย ๕๐ไร่ ก็จะช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมได้อย่างดี

18.        ควบคุมปริมาณฟอสซิลแพลงตอนในก้นทะเลให้มีปริมาณที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดภูเขาไฟระเบิด ที่มีผลต่อการเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ และการเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยาที่ส่งผลต่อการเกิดแผ่นดินไหว ในแผ่นดินใหญ่

จากข้อมูลที่ได้รับชมทางภาพยนตร์สารคดีทางธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ ทำให้ทราบว่าฟอสซิลแพลงตอนนั้นเป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่สำคัญในการให้กำเนิดพลังงานแมกม่าในชั้นใต้ดิน ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นเปลือกโลกที่สำคัญ และเกิดการดันตัวของปล่องหินใต้โลกให้ดันตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาไฟ ที่มีกำลังแรงสูง โดยมักเกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งมีความอ่อนไหวทางธรณีวิทยา หรือมีการหดตัวทางธรณีวิทยา

โดยสังเกตได้จากการเกิดน้ำพุร้อน การเกิดเกาะแก่งต่างๆ การเคลื่อนตัวของคลื่นทะเล หรือคลื่นน้ำ ก็จะพบการเคลื่อนตัวทางธรณีวิทยาได้เช่นกัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตวงแหวนแห่งไฟ ซึ่งประเทศไทยและประเทศในเขตเอเชียอาคเนย์ก็ตั้งอยู่ในส่วนที่ติดกับวงแหวนแห่งไฟ โดยเฉพาะในแถบทะเลอันดามัน และเขตแปซิฟิค ซึ่งมีพื้นที่อ่อนไหวทางธรณีวิทยามาก ก็คือแถบเทือกเขาพรมแดนไทยพม่า ไทยมาเลย์เซีย แถบหมู่เกาะในอ่าวไทย ทะเลจีนใต้ ญี่ปุ่น และหมู่เกาะในเขตทะเลอันดามัน

ซึ่งฟอสซิลแพลงตอนที่ทับถมอยู่ใต้ก้นทะเลนั้น จะเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในการทำให้เกิดแมกม่าลาวาและการเคลื่อนตัวทางธรณีวิทยาใต้โลก จนก่อเกิดภูเขาไฟใต้น้ำ และภูเขาใต้แผ่นดินที่ดันตัวขึ้นมาจนมีผลต่อเปลือกโลกแผ่นอื่นๆ

โดยย่อมส่งผลกระทบต่อเปลือกโลกส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ของประเทศแถบเอเชียอาคเนย์ทั้งหมด รวมทั้งประเทศไทยด้วย ที่ยังมีภูเขาไฟตั้งอยู่ทั้งทางภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคใต้ ที่ปัจจุบันแม้จะยังหลับใหลอยู่ แต่ก็ไม่ควรประมาท

 ซึ่งหากยังมีปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา อย่างเช่นน้ำพุร้อน และการเกิดแผ่นดินไหวขึ้นอยู่ ก็เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงการไม่ปกติอย่างแน่นอน ที่ไม่ควรประมาท

 เพราะภูเขาไฟที่เคยหลับใหล หลายๆลูกในต่างประเทศก็สามารถฟื้นคืนพลังขึ้นมาใหม่ และภูเขาไฟในเขตอบอุ่น อย่างเช่นภูเขาแถบมหาสมุทรแอตแลนติกก็เคยตื่นขึ้นมาในเขตที่เป็นน้ำแข็ง เช่นแถบไอซ์แลนด์ หรือแม้กระทั่ง ภูเขาไฟในประเทศอินโดนีเซียที่ยังทำงานอยู่และมีผลต่อทะเลอันดามัน รวมทั้งทะเลในอ่าวไทย ก็เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความตื่นตัวของธรณีวิทยาในเขตนี้ ที่ไม่ควรมองข้าม

 และยังมีแหล่งพลังงานหลักมาจากฟอสซิลแพลงตอนในทะเลด้วย โดยสามารถตรวจวัดความอุดมสมบูรณ์ของแพลงตอนได้จาก ปลากินพืชในทะเล โดยเฉพาะปลาวาฬและปลากะตัก ที่เป็นอาหารของปลาวาฬบลูด้า รวมทั้งปลาหมึกที่เป็นนักล่ากินสัตว์น้ำชนิดอื่นๆที่กินแพลงตอนเป็นอาหาร   

ซึ่งหากได้มีการดูแลตรวจสอบและควบคุมปริมาณของฟอสซิลแพลงตอนให้เหมาะสมต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในโลก รวมทั้งในภูมิภาค ก็จะเป็นการดี เพื่อไม่ให้เกิดภูเขาไฟระเบิด หรือเกิดการเคลื่อนตัวทางธรณีวิทยา แบบแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง ที่รุนแรง

โดยมีการนำเอาฟอสซิลแพลงตอนเหล่านี้ ขึ้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ทำเป็นพลังงาน เพราะสามารถสร้างแมกม่า ลาวาที่หลอมละลายหิน และแร่ธาตุต่างๆใต้โลกได้ ก็น่าจะนำมาใช้เป็นประโยชน์ในด้านพลังงาน หรือใช้ทำเป็นแผ่นวัสดุทดแทนบางอย่าง หรือทำเป็นปุ๋ย ฯลฯ  

เพื่อให้สมดุลต่อการดำรงอยู่ของอารยธรรมและเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ ตลอดจนสรรพสัตว์ต่างๆที่ต้องอยู่อาศัยร่วมกัน โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล แต่ก็ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของเผ่าพันธ์มนุษย์ด้วย

โดยแพลงตอนนั้นมีทั้งชนิดพืชและชนิดสัตว์ ซึ่งสามารถทำการเพาะเลี้ยงได้ จะทำให้เกิดแหล่งพลังงานความร้อนที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าและหุงต้มที่ถูกมากกว่าอีกหลายเท่า หากนำเอาฟอสซิลแพลงตอนมาใช้ประโยชน์ด้านปุ๋ย และพลังงาน รวมทั้งทับถมชายฝั่งให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันคลื่นทะเล

นอกจากนี้ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟร์ หรือแก๊ซตด ที่มีในมนุษย์ สัตว์ และมักพบได้ในพื้นที่ใต้ทะเล ก็กลายเป้นแหล่งกำเนิดแบคทีเรียที่กินสารอาหารจากก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟร์

 แล้วสร้างอินทรีย์สารวัตถุ กลายเป็นแหล่งอาหารของแพลงตอนและสัตว์น้ำต่างๆ ซึ่งพบเจอได้ในความลึกระดับ ๖ถึง๑๑ กิโลเมตรลงไป

 ทำให้เราต้องไม่มองข้ามโอกาสการเกิดฟอสซิลแพลงตอนแบบต่างๆที่จะกลายเป็นแหล่งกำเนิดของภูเขาไฟใต้น้ำและภูเขาลูกใหม่ที่จะปรากฎตัวขึ้นบนโลก ที่มีผลต่อหย่อมความกดอากาศและแผ่นดินไหว 

 

19.        ทำอุโมงค์ควบคุมหย่อมความกดอากาศสูง บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากกว่า ๓๐๐เมตร หรือทำในพื้นที่ต่ำแต่มีปล่องปล่อยมวลอากาศเย็นขึ้นบนที่สูงระดับ๕๐๐เมตรขึ้นไป

โดยใช้พืชที่มีรากอากาศยาว ช่วยดูดอากาศ ทำให้เกิดความชุ่มชื้นในที่ร่ม เช่นพริกไท พลูด่าง มอสเฟิร์น ปลง ใช้ไนโตรเจนเหลวให้ความเย็นภายในอุโมงค์ หรือใช้แร่ธาตุที่ช่วยดูดซับความเย็นชื้นได้ดี เพื่อสร้างมวลอากาศเย็นภายในอุโมงค์ให้มากพอ

เพื่อปล่อยมวลอากาศเย็นที่มีระดับอุณหภูมิตั้งแต่ ๒๓ – ๒ องศาเซลเซียส (ไนโตรเจน ให้ความเย็นได้อย่างรวดเร็ว ได้มากถึง-๑๙๒ องศาเซลเซียส ในเวลาไม่เกิน ๑ชั่วโมง )

โดยปล่อยมวลอากาศเย็นขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศให้โจมตีมวลอากาศร้อนที่ทำให้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้เกิดฝนตกและลมพายุได้ แต่เมื่อใช้มวลอากาศเย็นภายในอุโมงค์ที่มีความลึกมากกว่า ๓๐เมตรโจมตี มวลอากาศร้อนจนเปลี่ยนให้หย่อมความกดอากาศต่ำ กลายเป็นหย่อมความกดอากาศสูง หรือขับไล่หย่อมความกดอากาศต่ำให้เคลื่อนที่ไป  ก็จะทำให้ไม่เกิดฝนตกได้เช่นกัน

ซึ่งหากมีอุโมงค์ใต้ดินหรืออุโมงค์ที่มีความยาวมาก เพื่อกักเก็บมวลอากาศเย็น ได้มากเท่าไรก็จะเป็นการดีต่อการควบคุมสภาพภูมิอากาศได้อย่างเป็นระบบและแม่นยำ เช่น อุโมงค์มีความลึก ๕๐-๓๐๐เมตร ก็จะสามารถกักเก็บมวลอากาศเย็นที่มีอุณหภูมิที่ ๒- ลบ ๕องศาเซลเซียสได้สบาย ก็จะทำให้สามารถเลือกสภาพภูมิอากาศได้ดังใจที่ต้องการ โดยควบคุมจากที่ต่ำขึ้นไปยังที่สูง

และควบคุมจากอุโมงค์ลึกใต้ดินบนยอดเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล ตั้งแต่๒๐๐เมตรขึ้นไป เพื่อโจมตีเมฆหย่อมความกดอากาศต่ำ นิมโบคิวมูลัส  สเตรโตรคิวมูลัส และเมฆคิวมูลัส ให้กลายเป็นฝนหรืออากาศหนาวได้ดังใจต้องการ

โดยปากทางเข้าอุโมงค์ต้องมีต้นไม้สูงใหญ่ ขึ้นหนาทึบเพื่อให้ความร่มเงา และกรองแรงลม ตลอดจนดักอากาศเพื่อสร้างสภาวะความเย็นชื้นในอุโมงค์และบริเวณรอบอุโมงค์ได้มากขึ้น

 เหมือนดังในอดีตที่มีป่าไม้ทางภาคเหนือขึ้นอย่างหนาแน่น มีสวนลำไยและลิ้นจี่ ที่มีใบเขียวตลอดทั้งปี ช่วยบดบังแสงอาทิตย์ สร้างอากาศเย็นชุ่มชื้นให้แก่ทางภาคเหนืออย่างสมบูรณ์ ทำให้เกิดทั้งเมฆหย่อมความกดอากาศต่ำและเมฆหย่อมความกดอากาศสูงขึ้นอย่างสมบูรณ์ตามฤดูกาล

ส่งผลให้มีสภาพภูมิอากาศที่สมดุลตามธรรมชาติ โดยมีอากาศเย็นสบายในหน้าหนาวและมีฝนตกที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงหน้าฝน อย่างเป็นปกติ อันแตกต่างจากในปัจจุบันที่มีการลดพื้นที่ปลูกไม้ใบเขียวขจีตลอดทั้งปีในภาคเหนือแล้วไปปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยว

 อย่างข้าวโพด ผักกะหล่ำปลี่ และพืชเชิงเดี่ยวอื่นๆที่ไม่ยั่งยืน ต้องตัดเก็บเกี่ยวและปลูกใหม่ทุกๆปี ทำให้เกิดความแห้งแล้ง และป่าเสื่อมโทรม จนเกิดเขาหัวโล้นในภาคเหนือ และหน้าดินขาดแร่ธาตุจากพืชและสัตว์ป่าตามธรรมชาติ

ดังนั้นจึงต้องปลูกไม้ยืนต้นตามธรรมชาติที่ให้ร่มเงาแก่อุโมงค์ โดยเฉพาะต้นไผ่ แมคคาเดเมีย สน ท้อ ต้นเมเปิ้ล ต้นลิ้นจี่ ลำไย สัก ขนุน ซึ่งให้ประโยชน์อื่นๆตามมาได้

20.        ทำหลุมดักลม เพื่อลดปริมาณมวลอากาศร้อนที่ก่อเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ โดยใช้พัดลมสองระบบคือ พัดลมดูดอากาศเข้ามา

โดยหลักการคือดูดมวลอากาศภายนอกที่จะกลายเป็นมวลอากาศร้อนให้กลายมาเป็นมวลอากาศเย็นภายในหลุมที่มีความลึกมากกว่า ๒๐๐เมตร ที่อับแสง และมีพืชรากยาว เพื่อทำให้มวลอากาศร้อนกลายเป็นหยดน้ำแก่พืช เช่น เห็ด กล้วยไม้  เฟิร์น มอส  ถังเช่า ที่มีการเพาะเลี้ยงภายในหลุมดักอากาศ ที่ปากหลุมมีพัดลมดูดอากาศแบบแนวนอน

ซึ่งเมื่อกลไกของพัดลมในแนวตั้งได้รับกระแสลมจากภายนอกของหลุม แล้วฟันเฟืองที่เชื่อมโยงมาที่พัดลมดูดอากาศในแนวนอน บริเวณปากถ้ำก็จะทำงาน ตามกระแสลมที่หมุนใบพัดในแนวตั้ง ทำให้กลไกที่เชื่อมโยงกันไปหมุนใบพัดลมในแนวนอนที่บริเวณปากหลุม ให้หมุนจนสามารถดูดลมหรือมวลอากาศร้อนจากภายนอก  ให้เข้ามาในหลุมจนกลายเป็นมวลอากาศเย็นได้ในที่สุด และกลั่นตัวกลายเป็นน้ำให้แก่พืชภายในหลุมที่มีการเพาะเลี้ยงเอาไว้

 ทำให้ลดกำลังการเกิดลมพายุและหย่อมความกดอากาศต่ำ ที่ทำให้เกิดฝนและลมพายุที่รุนแรง

โดยสามารถควบคุมหลุมดักลมได้ด้วยระบบไฮโดรลิค หรือกลไกเมื่อต้องใช้และไม่ใช้งาน

ก็จะทำให้ปัญหาการเกิดน้ำท่วมและลมพายุที่รุนแรงลดน้อยลงไป

โดยปากบ่อหลุมดักลมต้องมีต้นไม้สูงใหญ่ ขึ้นหนาทึบเพื่อให้ความร่มเงา และกรองแรงลม ตลอดจนดักอากาศเพื่อสร้างสภาวะความเย็นชื้นในหลุมดักลมและบริเวณรอบหลุมดักลมได้มากขึ้น

 เหมือนดังในอดีตที่มีป่าไม้ทางภาคเหนือขึ้นอย่างหนาแน่น มีสวนลำไยและลิ้นจี่ ที่มีใบเขียวตลอดทั้งปี ช่วยบดบังแสงอาทิตย์ สร้างอากาศเย็นชุ่มชื้นให้แก่ทางภาคเหนืออย่างสมบูรณ์ ทำให้เกิดทั้งเมฆหย่อมความกดอากาศต่ำและเมฆหย่อมความกดอากาศสูงขึ้นอย่างสมบูรณ์ตามฤดูกาล

ส่งผลให้มีสภาพภูมิอากาศที่สมดุลตามธรรมชาติ โดยมีอากาศเย็นสบายในหน้าหนาวและมีฝนตกที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงหน้าฝน อย่างเป็นปกติ อันแตกต่างจากในปัจจุบันที่มีการลดพื้นที่ปลูกไม้ใบเขียวขจีตลอดทั้งปีในภาคเหนือแล้วไปปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยว

 อย่างข้าวโพด ผักกะหล่ำปลี่ และพืชเชิงเดี่ยวอื่นๆที่ไม่ยั่งยืน ต้องตัดเก็บเกี่ยวและปลูกใหม่ทุกๆปี ทำให้เกิดความแห้งแล้ง และป่าเสื่อมโทรม จนเกิดเขาหัวโล้นในภาคเหนือ และหน้าดินขาดแร่ธาตุจากพืชและสัตว์ป่าตามธรรมชาติ

ดังนั้นจึงต้องปลูกไม้ยืนต้นตามธรรมชาติที่ให้ร่มเงาแก่หลุมดักลม โดยเฉพาะต้นไผ่ แมคคาเดเมีย สน ท้อ ต้นเมเปิ้ล ต้นลิ้นจี่ ลำไย สัก ขนุน ซึ่งให้ประโยชน์อื่นๆตามมาได้

ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาการขุดรูโพรงของสัตว์ที่อาศัยอยู่ใต้ดินอย่างเช่นพวกตัวตุ่น กระต่าย หนู หนูตัวตุ่น ที่ช่วยทำให้ดูดซับลมลงมาใต้ดินและไหลไปตามอุโมงค์ใต้ดินที่สัตว์เหล่านี้ได้ขุดเอาไว้เพื่อการหาอาหาร พวกรากพืช ไส้เดือน หนอนและแมลงใต้ดิน  เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและเดินทางไปยังที่ต่างๆได้อย่างปลอดภัยในเวลาอันสั้น

จึงเป็นการดักลม ลดแรงลม ขนาดของมวลอากาศที่จะก่อตัวเป็นลมพายุขนาดใหญ่ได้

 

21.        ทำสแลนตาข่ายดักลมระบบตาข่ายวอลเล่ย์บอล เพื่อป้องกันแรงลม และมวลอากาศร้อนที่กลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำให้เปลี่ยนสถานะ

 เนื่องจากตาข่ายวอลเล่ย์บอลมีความสามารถรับแรงปะทะของลูกบอลได้มากเทียบเท่ากับแรงลมพายุ เพราะแรงตบของนักวอลเล่ย์บอล สามารถทำความเร็วของลูกบอลได้เทียบเท่ากับ แรงลมพายุทอร์นาโดและเฮริเคน วัสดุของตาข่ายวอลเล่ย์บอลและ โครงสร้างตลอดจนลวดสลิงที่ขึงตาข่าย จึงมีความสามารถเพียงพอที่จะช่วยเสริมการรับแรงปะทะของลมพายุต่างๆได้เป็นอย่างดี

 โดยหากมีการใช้ต้นไม้ที่ต้านลมพายุชายทะเลได้อย่างดี จำพวก ต้นอโศกอินเดีย สาระภีทะเล ตาล  สนทะเล  ลีลาวดี  ปาล์มมะพร้าว จาก ลำพูทะเล โกงกาง เตยทะเล เสม็ด แสม เชอร์ทะเล ซึ่งเป็นพืชชายทะเลที่มีระบบชีวภาพกำเนิดขึ้นมาเพื่ออยู่กับชายทะเล รับแรงปะทะของลมทะเลได้เป็นอย่างดี รวมทั้งต้นไผ่ กระถิน ยางนา            ยูคาลิปตัส แป๊ะก๊วย        หูกวาง มะขามเทศที่สามารถปลูกบริเวณชายทะเลได้เช่นกัน  และสามารถนำมาปลูกในพื้นที่น้ำจืดได้ด้วย ซึ่งจะช่วยแรงรับมือกับลมพายุได้อย่างสบายในเวลาอันสั้น

ดังนั้นหากมีการติตตั้งแผ่นสแลนที่มีกาว แป้ง โคลน สารเหนียว ยางพืช น้ำมันพืช และแผ่นสแลนติดตั้งบนตัวตาข่ายวอลเล่ย์บอลที่มีระบบเสาสูงมากกว่าปกติ เช่น ๑๒เมตร และมี สายสลิงยาวเป็นพิเศษ เพื่อทำให้ลดกำลังแรงลม แล้วเปลี่ยนมวลอากาศที่เป็นลม

ให้กลายเป็นหยดน้ำติดกับแผ่นสแลน ได้ด้วยหลักการควบแน่น ด้วยสารคาร์บอนที่ทาติดเอาไว้ที่ตัวตาข่ายและแผ่นสแลน ซึ่งจะเปลี่ยนสถานะของลม ที่มีไนโตรเจน คาร์บอนและอ๊อกซิเจน CH2O ให้กลายเป็นน้ำในที่สุด ด้วยหลักการควบแน่น แบบเดียวกับที่สแลนเพาะกล้าไม้ตามพื้นที่เกษตร ทำให้ในพื้นที่ของสแลนเพาะชำ มีร่มเงาและเย็นชื้น จนเกิดพืชที่ชอบร่มเงา ความชื้นอย่างมากมาย

22.        สร้างปะการังเทียมด้วยโอ่ง ตุ่ม หม้อ และไหดินเผา รวมทั้งการใช้ดินเผาผสมกับผงเถ้ากระบก ไม้ชายเลน เปลือกหอยเพื่อผลิตคอนกรีตทนน้ำทะเล ใช้แทนคอนกรีตที่มาจากภูเขาบนบก เพื่อลดแรงกัดเซาะจากน้ำทะเล อันมีผลต่อการเกิดแผ่นดินไหว ตลอดจนเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ชายฝั่ง

จากผลความสำเร็จของโครงการปะการังเทียม ตามแนวพระราชดำริขององค์พระราชินีในองค์พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙ ที่ทรงมีพระราชเสาวนีย์ ให้ทำปะการังเทียมเพื่อช่วยเหลือประชาชน ให้สามารถทำการประมงในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งไม่เกิน๑กิโลเมตร ตลอดจนเพื่อเป็นการป้องกันและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลได้อย่างยั่งยืน

จึงทำให้เกิดเป็นโครงการสร้างแนวปะการังเทียม ที่ใช้สิ่งของเหลือใช้ อย่างรถ เรือ เครื่องบิน ตู้ แท่งคอนกรีต มาสร้างเป็นปะการังเทียมตามแบบในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ และจากหลักฐานของปะการังเทียมที่เกิดขึ้นเอง ด้วยผลจากอุบัติเหตุทางทะเลต่างๆทำให้มีเรือจมอยู่กลายเป็นที่อยู่อาศัยของปะการังและสัตว์น้ำต่างๆอย่างมากมาย

 ส่งผลให้เกิดการผสมผสานนำวิธีการประยุกต์ใช้ สร้างเป็นรูปแบบปะการังเทียมแบบต่างๆขึ้นอย่างมากมาย

โดยความร่วมมือของกรมเจ้าท่า และหน่วยรักษาทรัพยากรทางทะเล ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการดำเนินการอย่างจริงจังเรื่อยมา พร้อมกับได้ความสนับสนุนจากคณาจารย์ของสถานศึกษาต่างๆ และภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี รวมทั้งภาคประชาชนที่ช่วยกันอีกแรงอย่างแข็งขัน จึงเกิดความสำเร็จของแนวปะการังเทียมแบบคนไทยที่น่าภาคภูมิใจ

แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่มักพบเจอเครื่องปั้นดินเผา ที่จมอยู่ในแม่น้ำลำคลองและทะเล ซึ่งสามารถรอดพ้นจากการถูกน้ำทะเลกัดกร่อนได้อย่างเหลือเชื่อ จึงเป็นที่มาของแนวคิดการใช้ดินเผามาสร้างเป็นแนวปะการัง ทดแทนการใช้คอนกรีตจากภูเขาหินปูน  และประยุกต์ใช้ผงเถ้าของไม้เนื้อแข็งอย่างกระบก สัก สน ไผ่ มะม่วง หญ้าแฝก ยูคาลิปตัส มะค่า ประดู่ ตาล ค้อ ตะแบก ยางนา ฝรั่ง หูกวางและพืชยืนต้นชายทะเลอื่นๆ มาเป็นส่วนผสม ร่วมกับผงเปลือกหอย เพื่อทำให้วัสดุดินเผาชนิดใหม่มีความแข็งแรง และทนทานต่อการถูกน้ำทะเลกัดกร่อนได้ดียิ่งขึ้น 

เพื่อทำเป็นโอ่ง ตุ่ม ไห แท่งวัสดุสำหรับให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่างๆ เพื่อต้านทานแรงคลื่นใต้น้ำไม่ให้รุนแรง

โดยเฉพาะคลื่นสึนามิ ที่มีอำนาจการทำลายล้างสูง ซึ่งหากมีการใช้แนวการสร้างเขื่อนไม้บีเวอร์ ที่ใช้ขยะไม้ เปลือกไข่ เปลือกหอย ขยะผัก ผลไม้ ผักตบชวา ดอกจอก ลูกมะพร้าว ที่ทิ้งตามที่ต่างๆ รวมทั้งอวนรุน

นำมาทำเป็นบล๊อคไม้ตามแนวชายฝั่งที่มีลักษณะเป็นดินเลน  ในแบบเสาสี่เหลี่ยมขนาดความสูง๖เมตร มีส่วนโผล่ขึ้นมาจากใต้ดิน ๔เมตร แต่จมอยู่ใต้ดิน๒เมตร และมีความกว้าง๑๒เมตร โดยใช้แผ่นจักรสานจากไม้ไผ่ ทำเป็นผนังด้านข้าง ของบล็อกไม้ ที่ทำจากเสาสน หรือยูคาลิปตัส

 แต่ให้มีรูระบายน้ำไหลเข้าออกได้ แบบระบบรากของพืชชายเลน อย่าง จาก ลำพู ลำแพน แสม คัก โกงกาง ฯลฯ เพื่อช่วยลดแรงคลื่นทะเลให้ชะลอตัวลง ทำให้น้ำไหลไปมาได้สะดวก แต่ลดความรุนแรงและตกตะกอน ทิ้งตะกอนดินกับพวกแพลงตอนเอาไว้ให้เป็นปุ๋ยและทับถมแน่นหนานูนสูงขึ้นอย่างเร็ว

 ส่วนภายในตัวบล็อกไม้รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก็ให้ทิ้งขยะไม้ เสาไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ เปลือกหอย เปลือกไข่ อย่างหนาแน่น แล้วเอาอวนรุนครอบคลุมอีกที เพื่อทำหน้าที่ดักตะกอนที่มากับน้ำทะเล จนกลายเป็นชั้นดินและแหล่งอาหารให้แก่พวก ปู ปลา กุ้ง หอย โดยเฉพาะพวกปูกับหอย

ซึ่งจะทำให้เกิดชั้นดินที่แน่นหนาและสูงนูนขึ้นภายในเวลาไม่เกิน๒ปี

แต่ต้องผูกมัดอวนรุนกับเสาของบล็อกไม้ทั้งสี่ด้านให้แน่นหนา เพื่อให้อวนรุนสามารถป้องกันไม่ให้ขยะไม้ที่อยู่ในบล็อกไม้ ลอยหลุดออกไปจากบล็อกไม้ โดยให้คงอยู่ในบล็อกไม้ ที่มีตาข่ายของอวนรุนเป็นสิ่งช่วยปกป้องกักขังขยะไม้เหล่านี้เอาไว้ เหมือนกับตาข่ายที่ใส่ลูกบาสเกตบอล

โดยให้ผูกเชือกผ่อนยาว และใช้อวนรุนขนาดใหญ่กว่าบล็อกไม้ เพื่อให้ขยะไม้สามารถลอยขึ้นลงตามระดับน้ำทะเล ที่ขึ้นลง โดยไม่หลุดออกไปจากบล็อกไม้ได้  จะทำให้ขยะไม้ที่อยู่ในอวนรุนกลายเป็นเหมือนแพผิวน้ำ และแพใต้น้ำที่คอยต้านทานแรงคลื่นทะเล เอาไว้ได้อย่างดี ไม่ว่าน้ำทะเลจะสูงขึ้นระดับใด ขยะไม้ในอวนรุนก็จะลอยตัว ต้านทานเอาไว้ได้อยู่เสมอ โดยที่กระแสน้ำทะเลสามารถไหลผ่านขยะไม้ในอวนรุนและบล๊อคไม้ไปได้ แต่ไม่รุนแรงมากนัก

และเมื่อมีการปลูกสาหร่าย กับหญ้าทะเล ตลอดจนพืชน้ำกร่อย พืชน้ำทะเลอย่างพวกผักเบี้ยทะเล ชะคราม ให้ขึ้นอยู่รอบๆบริเวณบล็อกไม้ หรือ“ เขื่อนไม้บีเวอร์” ที่เลียนแบบการสร้างรังของตัวบีเวอร์ในทวีปยุโรป ซึ่งใช้ท่อนซุงและกิ่งไม้มาสานทับๆกันจนเป็นรังที่อยู่อาศัยอย่างหนาแน่น

 โดยมีห้องต่างๆอยู่ภายใต้น้ำ เพื่อป้องกันภัยจากเหล่านักล่าทั้งหลาย และยังเป็นเหมือนฝายชะลอน้ำ ที่ทำหน้าที่สร้างความสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ต่างๆ ซึ่งตัวบีเวอร์ใช้อยู่อาศัย

ซึ่งพบว่าคูคลองแม่น้ำต่างๆ จะมีความกว้างใหญ่และลึกมากขึ้น เมื่อมีรังของตัวบีเวอร์เกิดขึ้นในพื้นที่ของแม่น้ำ และลำคลอง แห่งนั้น 

แต่ในกรณีนี้จะทำให้เกิดแผ่นดินงอกงามมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นบล็อกไม้ที่สร้างอยู่ตามแนวชายฝั่งน้ำกร่อยเพื่อต้องการให้ขยะไม้ในอวนรุนทำหน้าที่ดักตะกอนในน้ำ จนกลายเป็นชั้นดินอัดแน่นหนาทับถมจนเกิดเป็นชั้นดินที่สูงขึ้นตามแนวชายฝั่งอย่างเร็วไว ภายในเวลา๑-๒ปี

โดยมีพืชชายเลนและพืชน้ำอย่างสาหร่าย หญ้าทะเล และผักเบี้ยทะเลช่วยเป็นแนวต้านทานแรงคลื่นทะเลอีกแรง เพื่อป้องกันน้ำทะเลเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชน และเพื่อป้องกันคลื่นยักษ์สึนามิ เหมือนกับความสำเร็จของบ้านน้ำเค็ม ที่มีแนวป่าชายเลนต้านแรงคลื่นยักษ์สึนามิในวันที่๒๗ธันวาคม ปีพ.ศ. ๒๕๔๗ ทางแถบทะเลอันดามัน ทำให้มีประชาชนรอดตายจากเหตุการณ์ครั้งนั้นอย่างมากมาย

 ต่างจากพื้นที่ๆไม่มีหญ้าทะเล และป่าชายเลน ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรง เกิดผู้คนล้มตายและอาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงมาก

ซึ่งเมื่อรวมกับความสามารถของปะการังเทียมจากคอนกรีตดินเผาแบบใหม่ กับเขื่อนไม้บีเวอร์และแนวป่าชายเลน รวมทั้งพันธ์พืชไม้เลื้อยชายทะเล ก็จะสามารถต้านทานการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ หรือคลื่นยักษ์ต่างๆ รวมทั้งป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง และน้ำทะเลไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 โดยเฉพาะเมื่อมีการเพาะเลี้ยงเหล่าหอยนางรม และหอยต่างๆในบริเวณเขื่อนไม้บีเวอร์ก็จะช่วยเป็นปราการต้านทานแรงคลื่นทะเลได้เป็นอย่างดียิ่ง 

 

23.        สร้างแนวต้านแรงคลื่นแผ่นดินไหวใต้โลกด้วยของเหลวและแท่งวัสดุทดแทนที่ทำจากกรดอะมิโนและคาร์บอน รวมทั้งรณรงค์ปลูกไม้ยืนต้นทนแล้งที่มีระบบรากลึกยาวช่วยยึดชั้นดินได้ดี

เนื่องจากคลื่นแผ่นดินไหวที่มีชื่อว่าคลื่นเอสนั้น ไม่สามารถผ่านชั้นของเหลว อย่างเช่น ปิโตรเลียม ฟอสซิล น้ำมัน โคลน น้ำมันพืช เจล กาว ยางไม้ หรือมูลสัตว์ที่ไม่แข็งตัวได้  ต่างจากคลื่นพีที่สามารถทะลุทะลวงผ่านทั้งชั้นของเหลวและชั้นของแข็งได้เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถทะลวงผ่านชั้นของแข็งที่มีความหนาแน่นมากๆอย่างเช่นภูเขา หรือชั้นคอนกรีตหนาๆมากกว่า ๒เมตร โดยเฉพาะชั้นของพลาสม่า หรือสนามพลังงานไฟฟ้า พลังแม่เหล็กไฟฟ้า

ซึ่งแต่เดิมใต้โลกมีชั้นฟอสซิลของซากพืช ซากสัตว์ มูลสัตว์ทับถมกลายเป็นชั้นแก๊ซ ชั้นน้ำมัน ชั้นถ่านหิน หินน้ำมัน และน้ำแข็งไฟ ทำให้ช่วยป้องกันคลื่นแผ่นดินไหวที่ชื่อคลื่นเอสได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อมีการนำเอาฟอสซิลเหล่านี้ ขึ้นมาใช้จึงเหมือนกับการที่ไม่มีชันยา ที่คอยอุดรูให้แก่เรือที่มีรอยรั่ว หรือภาชนะที่มีรอยรั่ว คลื่นเอสจึงเดินทางผ่านทางชั้น โพรงอุโมงค์ใต้ดินต่างๆขึ้นมาบนเปลือกโลกด้านบนได้ง่ายมากขึ้น

ขณะเดียวกันเมื่อมนุษย์มีการนำเอาแร่ธาตุโลหะหรืออโลหะที่เป็นสื่อไฟฟ้า และช่วยสร้างสนามพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าใต้ดิน ที่เสมือนเป็นสนามพลังงานซึ่งมองไม่เห็น ที่คอยต้านทานคลื่นแผ่นดินไหวที่ชื่อคลื่นพีอยู่ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อความสะดวกสบายของมนุษย์

เพราะอารยธรรมของมนุษย์นั้นจำเป็นต้องใช้แร่ธาตุเหล่านี้ในการสร้างสรรค์อารยธรรมของโลก จึงต้องยอมเสียสละแร่ธาตุเหล่านี้เพื่อความเจริญของมนุษย์

หากทว่าในปัจจุบันมนุษย์สามารถสร้างวัสดุทดแทนที่มีความแข็งแกร่งมากกว่าเพชรและเหล็กกล้าได้สำเร็จ โดยใช้สารประกอบจากกรดอะมิโนและคาร์บอน ทำให้มนุษย์ได้แร่ธาตุวัสดุทดแทนแบบใหม่ที่เป็นสื่อไฟฟ้าได้ดีกว่า และแข็งแรงกว่าเพชรกับเหล็กกล้า ทองคำ และทองแดง ซึ่งนั่นคือ ไฮเปอร์ไดมอน                    นาโนสเปียร์และกราฟิน

 โดยล้วนแล้วแต่เป็นวัสดุทดแทนที่จะมาแทนเหล็ก ทองแดง ทองคำ แทนทาลั่มได้ในอนาคต เนื่องจากราคาถูกและมีน้ำหนักเบา สร้างขึ้นได้ง่าย ไม่ต้องทำเหมืองแร่เพื่อเอาแร่ธาตุต่างๆที่ใช้เป็นสื่อไฟฟ้าและโครงสร้างทางงานอุตสาหกรรม ขึ้นมาจากใต้ดินแบบเดิม

ดังนั้นหากเราทำแท่งสี่เหลี่ยม แบบที่ใช้ในงานก่อสร้าง หรือแท่งทรงกระบอกแบบที่ใช้ในการขุดเจาะปิโตรเลียม โดยใช้วัสดุทดแทนเหล่านี้แทน เหล็ก ทองแดง แทนทาลั่ม และทองคำ ตลอดจนเพชร  เพื่อสร้างเป็นแนวกำแพงใต้ดินที่มีความลึกมากกว่า ๒กิโลเมตร เหมือนอย่างที่เราทำท่อเพื่อนำเอาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ จากความลึกมากกว่า ๑กิโลเมตรได้ฉันใด 

เราก็สร้างเป็นแนวกำแพงใต้ดินด้วยแผ่นหรือท่อวัสดุทดแทน คือ กราฟิน ไฮเปอร์ไดมอนและนาโนสเปียร์ แล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านแท่งหรือท่อวัสดุทดแทนเหล่านี้ ในความลึกมากกว่า ๒กิโลเมตรได้ฉันนั้น

เพื่อใช้เป็นแนวต้านคลื่นแผ่นดินไหวชนิดคลื่นพี ซึ่งต้องสร้างในพื้นที่นอกตัวเมือง หรือพื้นที่ชนบทรอบเมือง เพื่อป้องกันคลื่นพีไม่ให้ทำลายสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองได้  เหมือนผีกลัวโบสถ์ กลัวสายสิณฉันใดก็ฉันนั้น

รวมทั้งต้องมีการปลูกไม้ทนแล้งต่างๆ ที่มีระบบรากลึกยาว เช่น หญ้าแฝก ข่อย ยูคาลิปตัส เบาบับ         ซีครัวญ่า  มะพร้าว ซีบัคธอร์น มะค่า ตะขบ อินทผาลัม ลาน ตาล ค้อ กระบองเพชร อะเคเซีย กระถิน สนเข็ม ปาล์ม แมคคาเดเมีย อัลมอนด์  มะม่วงหิมพานต์ มะขามเทศ ยางนา  ไผ่ หมากเม่า กระบก ไข่เน่า  วีทกลาส มัน และพืชทนแล้งต่างๆ  ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดินปนทราย พื้นที่แบบหนาผา ภูเขาสูงชัน และทะเลทราย

 เนื่องจากพืชเหล่านี้มีระบบรากที่ลึกยาว เป็นแนวตั้ง เพื่อหาแหล่งน้ำ และแร่อาหารต่างๆ จึงสามารถช่วยยึดชั้นดินได้ดีกว่าพืชในเขตป่าดงดิบ หรือพืชที่มีรากตื้น และรากแบบแนวนอน ที่หาแหล่งน้ำและอาหารได้ง่าย โดยเฉพาะแหล่งฮิวมัสบนผิวดิน  

ซึ่งพืชทนแล้งเหล่านี้ จะทำหน้าที่คล้ายกับด้ายกับเข็มเย็บผ้า ที่ช่วยยึดชั้นดินเอาไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เหมือนกับที่มีการปลูกไม้บางชนิดบริเวณรอบเสาของรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ระบบรากของพืชเหล่านี้จะช่วยยึดห่อหุ้มตอหม้อของเสารถไฟฟ้าบีทีเอส ให้รับแรงสั่นสะเทือนจากรถไฟฟ้าบีทีเอสได้เป็นอย่างดี

 โดยหากมีการติดตั้งระบบดังกล่าวนี้ก็จะช่วยป้องกันคลื่นแผ่นดินไหวและยังเป็นแนวต้านลมพายุ ช่วยดูดซับคาร์บอน ตลอดจนช่วยดูดซับน้ำส่วนเกินไม่ให้กลายเป็นน้ำและเมฆที่สร้างพายุ และฝนตกที่ร้ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 ซึ่งทั้งหมดนี้ก็สามารถเพียงพอต่อการกำจัดหย่อมความกดอากาศต่ำและควบคุมสภาพภูมิอากาศ ได้อย่างสมบูรณ์ ตลอดจนยังช่วยป้องกันภัยธรรมชาติอื่นๆจากน้ำ ลมและแผ่นดินไหวได้เป็นอย่างดี

 

แหล่งอ้างอิงจาก

พิมพ์เข้ากูเกิ้ล ในหัวข้อดังนี้

รถยนต์ใช้น้ำ  ,มอเตอร์พาวเวอร์เอชทูโอ,ไนโตรเจนเหลว ,โตโยต้ามิราอิ

แล้วจะเจอหัวข้อเหล่านี้ในเว็บไซต์ต่างๆดังนี้

เข้าเว็บไซต์ดังต่อไปนี้คือ

http://www.siamcardeal.com/th/blog/view/_105

https://hilight.kapook.com/view/27982

http://scienceillustratedthailand.com/technology/%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99/

http://oknation.nationtv.tv/blog/NewWorld2551/2008/07/08/entry-1

https://pantip.com/topic/30707718

https://news.thaipbs.or.th/content/250204

https://www.thairath.co.th/content/466552

https://auto.sanook.com/14969/

https://auto.sanook.com/14969/

https://car.kapook.com/view138385.html

http://www.siamchemi.com/%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7/

http://bgepa.dgr.go.th/2558/index.php/2015-11-03-06-09-51?id=10

http://news.ch7.com/detail/168192

http://www.loxleyconstructionmat.com/product/1670793/%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99.html

ผลิตไฟฟ้าจากเมฆ

http://oraya2544.blogspot.com/2016/01/air-hes-200-andrew-kazantsev-air-hes.html

https://prezi.com/e5ksuxpytdqz/air-hes/

ผลิตไฟฟ้าจากสายฝน

https://pantip.com/topic/37499344

 

วัสดุทดแทนโลหะ

https://themomentum.co/successful-innovation-design-graphene-from-soybean-oil/

https://workpointnews.com/2017/12/30/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B5%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%9C/

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/803664

https://pantip.com/topic/36194947

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C

https://www.voicetv.co.th/read/945

 

www.pantip.com

www.hilight.kapook.com

www.news.mthai.com

www.siam carden.com

www.Quru.sanook.com

www.auto.sanook.com

www.siamchemi.com

www.news.thaipbs.or.th

 








                                                        สนใจอยากสูง คลิกเลยจ้า                                                     





โครงการวิจัยและพัฒนาของBen2at

 โครงงานวิจัย และพัฒนา ทุน กำไร ซื้อ ขาย  จำนวนผู้ร่วมทุน ผลประโยชน์จาก                  โครงการ
 1.โครงการสร้างดินลูกรังเทียม           ทำให้ขยะไม้,        ขยะเปลือกหอย ,เปลือกไข่, แกลบ,มูลสัตว์,น้ำยางพืช,ยางไม้ และดินก้นคลอง สามารถนำมาทำประโยชน์และสร้างมูลค่า ลดปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติป่าเขา สร้างกำแพงธรรมชาติป้องกันชายฝั่ง ลดการปล่อยควันเสีย ก๊าซคาร์บอน
 2.โครงการผลิตเครื่องกำจัดฝน พายุ หิมะ และลูกเห็บ            เมื่อสร้างเครื่องนี้ขึ้นใช้เวลาไม่เกิน 3เดือน ทำการติดตั้งในพื้นที่ๆมีการปลูกป่าและมีสระน้ำหรือหนองบึง เพื่อระบายน้ำลงมาให้พืชที่ต้องการน้ำมากได้นำน้ำไปใช้ เช่น ต้นยูคาลิปตัส  ประโยชน์ที่ได้จากเครื่องนี้ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วม แผ่นดินถล่ม น้ำกัดเซาะชายฝั่ง คลื่นยักษ์ ลมพายุถล่มพัดบ้านเรือน พายุหิมะและพายุลูกเห็บถล่มใส่ประชาชนจะหมดไป ปัญหาความยากจนจากการเสียหายอันเกิดจากน้ำท่วมแผ่นดินถล่ม หิมะถล่ม คลื่นยักษ์ถล่ม ลมพายุถล่ม ลูกเห็บถล่ม และปัญหาความสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเพราะภัยพิบัติจากฝน ลมพายุ หิมะ และลูกเห็บก็จะหมดไป
 3.โครงการบริหารจัดการพื้นที่ย่านที่เป็นแหล่งความร้อนใต้ธรณี            ป้องกันการเกิดภูเขาไฟระเบิด โดยจะทำการนำเอาความดันจากใต้โลกชั้นนี้นำมาใช้ประโยชน์ให้มาก และขุดเจาะรอบๆภูเขาที่น่าจะเป็นปล่องภูเขาไฟในอนาคต เพื่อระบายลาวาจากภูเขาไฟให้ไหลลงมาลงคลองที่ขุดล้อมรอบบริเวณภูเขา ซึ่งมีขนาดความลึก และความกว้างมากเพื่อรองรับจำนวนลาวาให้ไหลลงมาในคลองนี้จนหมดกำลัง ความร้อน ซึ่งจะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่พื้นที่ในคลอง เพราะลาวานั้นเต็มไปด้วยแร่ธาตุที่มีประโยชน์ทั้งต่อพืชและสัตว์ มนุษย์ยังสามารถได้หินเหล็กไฟ หินอัคนี ได้หินภูเขไฟนำมาทำเป็นกะทะปิ้งย่างทอดทำอาหารได้ ซึ่งต้องมีการดำเนินการก่อนที่ภูเขาลูกดังกล่าวจะกลายเป็นปล่องภูเขาไฟไปแล้ว เพราะจะอันตรายมากหากดำเนินการในตอนนนั้น
4.โครงการวิจัยเรื่องการหาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจประชาธิปไตยเพื่อความยั่งยืนของประเทศและประชาคมโลกกับรูปแบบรายการทาง สื่่อสารมวลชน           เพื่อทำรายการโทรทัศน์รูปแบบใหม่ที่นำเสนอเนื้อหารายการที่ให้ประชาชนได้มีส่วนในการใช้อำนาจของประชาธิปไตยตามสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อ  ป้อ งกัน แก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศชาติและประชาคมโลก ด้วยช่วงรายการต่างๆ เช่น กิจกรรมนักเรียน,นักศึกษา ช่วงงานวิจัยและพัฒนาเพื่อความยั่งยืน,ช่วงอาสาป้องกันและจัดการปัญหาของประชาชน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้มีสิทธิและอำนาจในการนำเสนอและใช้อำนาจทางกฎหมายดำเนินการต่างๆเพื่อความยั่งยืนของประเทศและประชาคมโลกได้ทันที โดยไม่ต้องรอการใช้อำนาจของภาครัฐ มีการนำเสนอเรื่องราวดีๆที่เกิดจากกิจกรรมของประชาชน ซึ่งทำความดีในแง่มุมต่างๆของประเทศและทั่วโลก โดยใช้หลักการที่ ทำให้นักการเมืองและข้าราชการเป็นเพียงตัวหุ้นในตลาดหลักทรัพย์หรือเป็นนักกีฬาในทีมแข่งขัน ซึ่งประชาชนสามารถควบคุมและบริหารจัดการได้
5.โครงการปลูกพืชให้โตเร็วภายในเวลา 3เดือน          

การทำให้พืชเกษตรโตเร็ว โดยเฉพาะพืชไม้ยืนต้น หรือพืชตระกูลหญ้าเช่นข้าว หรือพืชผัก อาจมีได้หลายวิธี เพื่อใช้ในสถานการณ์ที่พื้นที่ทำการเกษตรถูกน้ำท่วมทำให้พืชผลล้มตายอย่างมากมาย ซึ่งเราสามารถแบ่งวิธีการทำให้พืชโตเร็วได้ดังนี้ คือ หนึ่ง ผลิตกระแสไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างระดับแรงเทียนจากพืชผลที่มีความเป็น กรดเช่น มะนาว และพืชผลที่มีความเป็นด่าง เช่นกล้วย หัวปลีกล้วย สอง ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อให้แสงสว่างจากปฏิกิริยาทางเคมีจากระบบชีวภาคแบบสัตว์ เช่น ปลาไหลไฟฟ้า ปลาทะเลลึก หิ่งห้อย  เพื่อสร้างแสงสว่างระดับแรงเทียน

สาม ใช้แร่ธาตุฟอสฟอรัส ให้แสงสว่างแก่พืชในตอนกลางคืน  

สี่ ใช้กรดและความเป็นด่างจากน้ำเสียอุตสาหกรรม และครัวเรือน เช่น ซัลฟูริก มีเทน หรือกรดอื่นๆที่ให้ความร้อนสูง สามารถจุดระเบิดได้ ก็สามารถนำมาใช้จุดไฟให้แสงส่ว่างแก่พืชในตอนกลางคืนได้ โดยไม่ต้องนำไปกำจัดในเตาเผาหรือฝังกลบ

สี่ ใช้น้ำมันพืชมาจุดไฟให้แสงสว่างแก่พืชในตอนกลางคืนเพื่อทำให้พืชเจริญเติบโตได้มากขึ้น

ห้า การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในระดับ    คลื่นสมองอัลฟ่า และธีต้า เพื่อทำให้พืชงอกงามดี เหมือนกับการพูดคุยหรือให้พืช สัตว์ฟังเสียงเพลง 

หก  ใช้แรงคลื่นลมในตอนกลา่งคืนและใช้แรงคลื่นทะเลในตอนกลางคืนปั่นกังหันผลิตไฟฟ้าเพื่อให้แสงสว่างแก่พืชในยามกลางคืน 

เจ็ด ปั่นจักรยานที่ติดตั้งกลไกไดนาโมเพื่อผลิตไฟฟ้าในตอนเช้าและยามเย็น แล้วสำรองเก็บไฟฟ้าเอาไว้ในตู้แบตเตอรี่ เพื่อให้แสงสว่างแก่พืชในตอนกลางคืน

แปด ให้อาหารแก่พืช เช่น จุลินทรีย์ ปลูกพืชบนมูลสัตว์มูลมนุษย์  

เก้า เพาะเลี้ยงแมลงหรือหนอนที่เป์็นตัวนำสารอาหารสู่ระบบรากของพืชในใต้ดิน เช่น มด ปลวก ผึ้ง แมลงภู่ 

สิบ ปลูกพืชในหลุมใต้ดิน ที่รับแสงได้น้อยในตอนกลางคืน เพื่อให้พืชเร่งเติบโต แย่งแสงแย่งอากาศ เหมือนในระบบป่าดงดิบ แต่ในยามกลางคืน ก็ให้แสงสว่างแก่พืชภายในหลุมใต้ดิน

 8.คูคลองรอบที่นาเพื่อรองรับน้ำท่วม          

 ช่วยหน่อยนะ ที่จริงหากเราไม่ต้องสร้างเขื่อนที่ต้องระเบิดภูเขา เพื่อเอาหินปูนมาทำคอนกรีต และไม่ต้องทำลายป่า และฆ่าชีวิตสัตว์เพื่อเอาหินปูน และเพื่อสร้างเขื่อน เราก็สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ แค่ใช้ที่นาที่มีอยู่แล้ว ตลอดทีนาจะมีคันดินซึ่งเป้นแนวเขตแปลงนาแต่ละแปลง หากคุณขอเช่าซื้อ ที่ดินขนานกับคันดินเหล่านี้ซัก 5คุณ10 เมตร คือความกว้าง5เมตร ความลึก 10 เมตร แล้วขุดลึกลงไปให้เป้นคลอง แต่ต้องขุดเป้นแนวราบนะ จากตื้นไปหาลึกไม่ใช่ขุดเป้นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพราะอาจทำให้ตลิ่งพัง แล้วคุณก็จะได้ดินกับทรายนำมาขาย หรือได้ดินก้นคลอง ทุกๆ 3เดือน ซึ่งสามารถนำขึ้นไปขาย ถมที่ได้ตลอด แล้วเมื่อน้ำเข้ามาในคลองที่ขุดล้อมรอบแปลงนาแต่ละแปลงที่เราทำการเช่าซื้อจากชาวนาแล้ว ก็จะสามารถกักเก็บน้ำได้มากกว่าปริมาณน้ำที่ท่วมอยู่ในท้องนา เพราะน้ำที่ท่วมอยู่ในท้องนา มีระดับความลึกไม่เกิน 3 เมตร แต่ในคลองสามารถรองรับน้ำได้มากกว่า 9 เมตร และเมื่อเราปลูกต้นไม้สองข้างฝั่งคลอง โดยเฉพาะพืชที่กินน้ำจุ อย่างเช่น ยูคาลิปตัส ที่มีมากกว่า 700 สายพันธุ์ ที่กินน้ำจุแตกต่างกัน ประเทศฟินแลนด์ดินแดนแห่งทะเลสาบหนองบึงที่มีมากที่สุดในโลก ได้ใช้ต้นยูคาลิปตัสไปกำจัดทะเลสาบหนองบึงเหล่านี้ได้ผลสำเร็จมาแล้ว โดยสามารถควบคุมให้มีในระดับพอดี และเมื่อเราปลูกหญ้าแฝก กันตลิ่งพัง และปลูกไม้ยืนต้นอื่นๆอีกมากมายที่ให้ผล ดอกใบ ราก เปลือกไม้ และเนื้อไม้เพื่อทั้งบริโภค และอุปโภคได้ อย่างน้อยก็ปลูกต้นมะพร้าว ต้นตาลตโนด ต้นกล้วย ต้นตะขบ ต้นหมากเม่า ต้นสะตอ ต้นผักหวานบ้าน ผักหวานป่า ต้นมะกูด มะดัน มะขาม กระเจี๋ยบแดง กระชายดำ กระชายเหลือง ขมิ้นชัน ต้นกระบก ต้นยางนา ต้นยางอินเดีย  แล้วทำแพปลูกพืชลงในคลอง ทำกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำในคลองที่ขุดล้อมรอบแปลงนาแต่ละแปลง ที่เชื่อมต่อติดกันให้เป้นระบบคูคลองรับน้ำล้อมรอบที่นาทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ชาวนาก็ได้ประโยชน์ น้ำก็ไม่ท่วม ในคลองก็ทำประโยชน์ได้ ปลูกข้าวบนแพที่มีกระบะใส่ดิน หรือกล่องดินเผาใส่ดินเพื่อปลูกพืชเหมือนกับชาวบ้านในทะเลสาบเขมร ก็ยังได้ ไม่เห็นต้องกลัวน้ำท่วมเลย น้ำก็มีใช้ เรื่องน้ำท่วมและน้ำแล้งจะกลายเป็นอดีตไปเลย  ผมก็เคยเป็นเสื้อเหลือง แต่ตอนนี้เปลี่ยนใจ เพราะคิดว่าใครก็ได้ที่ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประชาชน สัตว์ต่างๆและประชาคมโลก ผมก็โอเคสนับสนุนทั้งนั้น ไม่อยากยึดติด และท่านก็มีโอกาสที่จะเปลี่ยนวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสได้ ทำเลยครับ ผมจะเป้นกำลังใจ และเป็นกำลังทางปัญญาเสนอความคิดเพื่อช่วยท่านป้องกันปัญหา แก้ไขปัญหา และพัฒนาบ้านเมือง ตลอดจนประชาคมโลกให้มีความสุขอย่างยืน ไม่อยากให้ยึดติดว่าต้องเป็นเสื้อแดงหรือคนพรรคเพื่อไทย  อยากให้คิดว่าใครก็ได้ที่รักชาติ รักโลก  จากผม ben2at

9.ระบบบ่อน้ำแบบเครือข่าย           หลักการพื้นฐานคือ ทำการติดต่อเจ้าของที่ดินในพื้นที่การเกษตรแต่ละแปลง ให้ยินยอม แบ่งพื้นที่เพื่อทำการเช่าซื้อ หรือร่วมทุน ขุดดินและทรายขึ้นมาขาย ขนาดของบ่อลึก 50 เมตร กว้าง 20เมตร และยาว80 เมตร แล้วเชื่อมต่อให้้น้ำจากคูคลองหนองบึงต่างๆ ไหลลงมาในบ่อน้ำดังกล่าง  ทำบ่อน้ำแบบนี้ครอบคลุมทุกพื้นที่การเกษตรของประเทศ แล้วปลูกหญ้าแฝก ไม้ยืนต้น เช่น ต้นยูคาลิปตัส ต้นกระบก ต้นกระท้อน ต้นสนทะเล ต้นไผ่ ต้นยางอินเดีย ต้นลำพู ลำแพน ต้นโกงกางน้ำจืด ต้นเตยน้ำ ต้นมะพร้าว สบู่ดำ ต้นขนุน และไม้ยืนต้นอื่น แล้วทำการบริหารจัดการน้ำในบ่ออย่างยั่งยืนร่วมกัน
10.การหาความสัมพันธ์ระหว่างดวงชะตากับบุญบำบัดตามหลักนวัตกรรมประยุกต์           ต้องการทดสอบ ค่าของดวงชะตาตามวันเดือนปีเกิด เวลาเกิด กับการสร้างความดีหลากหลายแบบ ที่มีความสัมพันธ์กับคลื่นสมอง คลื่นหัวใจ การแตกโมเลกุล การจับตัวของยีน แสงออร่าจากร่างกาย และสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ในแต่ละสถานการณ์ที่สร้างความดี ด้วยกิจกรรมต่างๆ ในรูปแบบของรายการทางyoutube เช่นกิจกรรมการแสดงเปิดหมวก การสร้างสิ่งอันเป็นสาธารณะประโยชน์ต่อสังคม ในรูปแบบขอสิ่งประดิษฐ์ อาทิเช่น เขื่อนไม้บีเวอร์ บ้านปลา เทจุลินทรีย์ ปลูกบัวในแหล่งน้ำ การกินอาหารชีวจิต ฯลฯ เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ในดวงชะตา พฤติกรรม ความคิดจิตใจ สังคมแวดล้อม เพื่อพิสูจน์การมีอยู่จริงของพลังงานบุญ บาป พลังงานของวิชาฮวงจุ้ย
11.เครื่องกำจัดไฟป่า           ใช้อุปกรณ์คล้ายฝาชีหรือทำเป็นฝาครอบขนาดใหญ่ แล้วมีรูตรงกลางฝา ใส่ท่อที่ ตรงกลางมี ช่องที่เคลือบด้วยถ่าน ดินโคลน หรือมีผ้าชุบน้ำ พันเอาไว้ ในท่อมีกลไกติดตั้งพัดลมดูดอากาศเข้ามาในท่อผ่านทางรูตรงกลางของฝาครอบ  มีสวิตช์เปิดปิด พัดลมดูดอากาศภายในท่อ เมื่อเจอควันไฟ ก็เปิดสวิตช์พัดลมดูดอากาศภายในท่อ ทำให้สามารถดูดควันไฟ เข้ามาในท่ีอ เมื่อควันไฟซึ่งเป็นคาร์บอนและน้ำในรูปแบบของก๊าซมาเจอกับโมเลกุลของถ่าน ดินโคลน และน้ำ ก็จะทำให้ควันไฟเกิดการควบแน่นกลายเป็นของเหลว เปลี่ยนเป็นน้ำสีดำๆ ซึ่งสามารถใช้ดับเพลิง และยังให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอีกด้วย เมื่อต่อสายยางหรือท่อยาวจากท่อควบคุมพัดลม ก็จะช่วยปล่อยน้ำที่ออกมาไปยังกองไฟได้เร็วยิ่งขึ้น เมื่อนำเครื่องนี้ติดตั้งบนเครื่องบิน ที่บินเหนือควันไฟป่า ก็สามารถเปลี่ยนควันไฟให้กลายเป็นสิ่งช่วยดับเพลิงและยังให้ปุ๋ยแก่ต้นไม้อีกด้วย
12.เครื่องสร้างและสลายควบคุมลมฝนเมฆหมอกหิมะลูกเห็บ           ทำเป็นท่อยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เมตร ความสูง 30-50 เมตร ทำจากดินเผา หรือท่อไม้ ภายในท่อ ส่วนปลายท่อด้านล่างมีพัดลมดูดอากาศ และปลายท่อด้านบน มีพัดลมเป่าอากาศ ติดตั้งกลไกสวิตช์เปิดปิดด้านนอกของท่อในกล่องพลาสติกป้องกันน้ำ ปากท่อด้านบน มีกลไก ทำด้วยไม้ไผ่หรือโลหะที่สามารถยืดหดได้แบบร่ม แต่ทำให้ยืดหดท่อผ้า ยืดยาวได้ โดย มีท่อผ้าติดอยู่กับปลายท่อด้านบน เวลานำท่อไปตั้ง จากพื้นดินสู่ท้องฟ้า จะมีท่อผ้าที่ควบคุมได้ด้วยกลไกพิเศษ บังคับได้แบบกลไกของร่ม เพื่อบังคับการยืดหดของท่อผ้า  และสุดท่อผ้าจะต้องมีท่อผ้าอีกส่วนที่มีขนาดยาวมากถึง 900 -1,000เมตร โดยเลียนแบบท่อผ้าที่มีพัดลมยืดหดขึ้นลง ที่ใช้แสดงตามบู๊ทต่างๆหรือหน้าอาคารสำนักงานขายของคอนโดมิเนียมต่างๆ  โดยเป็นหลักการที่มีพัดลมเป่าอากาศอยู่ในท่อผ้า ทำให้ท่อผ้ายืดหดขึ้นลง  เพียงแต่ ท่อผ้าที่ใช้กับระบบนี้จะเป็นท่อผ้าที่เปิด ไม่ปิด สามารถระบายลมออกจากท่อผ้าได้ เสมอ เมื่อเปิดพัดลมเป่าอากาศ  เมื่อเปิดกลไกยืดท่อผ้า ท่อผ้ายืดตัว และเปิดพัดลมเป่าท่อผ้าให้ยืด ท่อผ้าในส่วนที่สองจะเป็นผ้าร่ม หรือผ้าที่นิ่มเบา ยืดหดได้ เมื่อท่อผ้ายืดตัวจนสัมผัสกับลมในชั้นบรรยากาศได้แล้ว เชือกที่ผูกติดอยู่กับผ้าท่อผ้า และผูกติดกับว่าว จะทำหน้าที่ดึงท่อผ้าให้ลอยเมื่อว่าวได้ลมจนลอยตัวขึ้นไป จนถึงชั้นลม ทำให้ว่าวนำท่อผ้าชนิดบางเบาลอยขึ้นไปด้วย จนไปถึงกลุ่มเมฆ โดยควบคุมด้วยเชือกว่าว ที่สามารถควบคุมได้จากภาคพื้นดิน พัดลมดูดอากาศที่อยู่ปลายท่อด้านล่างจะถูกเปิดให้ทำงาน เกิดแรงดูดอากาศภายในท่อไปถึงปากท่อผ้าที่ลอยอยู่ แต่จะต้องรีบปิดสวิตช์พัดลมดูดอากาศโดยเร็ว  เมื่อเกิดแรงดูดอากาศภายในท่อแล้ว เมื่อเราดึงเชือกให้ไปที่เมฆก้อนใด แรงดูดอากาศภายในท่อก็จะดูดไอน้ำ หรือเมฆเหล่านั้น ให้เข้ามาภายในท่อ เมื่อเมฆถูกดูดเข้ามาในท่อแล้ว ก็จะปะทะกับคาร์บอนเหลวที่เป็นโคลน ถ่านที่ฉาบไว้ในท่อ และมี กล่องน้ำแข็งที่ใส่ไว้ในท่อ ทำให้เมฆ หรือไอน้ำกลายเป็นหยดน้ำไหลลงมาปลายท่อด้านล่าง ซึ่งมีหลุมดิน ซึ่งมีท่อยาวใต้ดินที่เชื่อมต่อไปถึงรากไม้ที่ชอบความชื้น และพืชที่ใช้น้ำมาก เช่นต้นยูคาลิปตัส ที่พัฒนาสายพันธุ์ให้กินน้ำมากกว่าวันละ 80 แกลลอน พืชที่มีรากดูดอากาศยาว  พืชทีมีหัวใต้ดิน เช่นมัน เผือก แก่นตะวัน ถั่ว และพืชที่ชอบความชื้นชนิดอื่นๆ ไอความชื้น หรือหยดน้ำจากเมฆจะกลายเป็นคาร์บอนแข็งในเนื้อไม้ 

Advertising Zone    Close

Online: 2 Visits: 198,580 Today: 133 PageView/Month: 1,157

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...